อุนิษา เลิศโตมรสกุลวนิพพล มหาอาชาชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณีประวีณยา สุขมาก2024-01-152024-01-15255925672559วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92842อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขตลาดพร้าวและเพื่อศึกษาปัจจัยการคบเพื่อนที่มีผลต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขตลาดพร้าว จังหวัดกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปี ที่ 1-3 ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขตลาดพร้าว จำนวนทั้งสิ้น 341 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงและชาย ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุ 13 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 1 บิดามารดามีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท ได้รับเงินค่าขนมต่อวัน 101-200 บาท ลักษณะของที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยว บิดา มารดาประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน บิดามารดาอยู่ด้วยกัน ปัจจุบันพักอาศัยอยู่กับบิดา มารดาและสัมพันธภาพในครอบครัวรักใคร่กลมเกลียว ปัจจัยด้านการติดเกมของเด็กและเยาวชน พบว่า ส่วนใหญ่ที่บ้านมีคอมพิวเตอร์ ได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเกมจากทางอินเตอร์เน็ต ใช้บ้านเป็นสถานที่เล่นเกม ส่วนใหญ่ชอบเล่นเกมประเภท Adventure เกมแนวผจญภัยและ เหตุผลที่ตัดสินใจเล่นเกมเพราะแก้เครียด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านภูมิหลังของประชากร โดยเฉพาะอายุ รายได้ของบิดา มารดาลักษณะของที่อยู่อาศัย ปัจจัยทางด้านการคบเพื่อน โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่พูดคุยกับเพื่อนส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเกม กลุ่มเพื่อนที่คบด้วยชอบเล่นเกมเหมือนกันและการมีเพื่อนสนิท ปัจจัยทางด้านทัศนะต่อการกระทำความผิด ปัจจัยด้านการ ควบคุมตนเองมีผลต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตลาดพร้าว จังหวัด กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ทางพ่อแม่หรือผู้ปกครองควรมีมาตรการในการดูแล สอดส่อง ตักเตือนหรือมีการกำหนด เวลาในการเล่นเกมของลูกหลานอย่างจริงจังและควรให้ความรู้แก่ลูกหลานเพื่อให้ทราบถึงผลเสียที่เกิดจาการเล่นเกมคอมพิว เตอร์ รวมทั้งในการช่วยเหลือลูกติดเกมนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้และที่สำคัญพ่อแม่ต้องเป็นกำลังสำคัญให้กับลูกหลานไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย กำลังใจ มีการกำหนดกติการ่วมกับระหว่างพ่อแม่ลูกหลานว่าเล่นเกมได้เวลาใดบ้างหรือการจัดให้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ทดแทน เพื่อสนับสนุนให้ลูกหลานได้กล้าแสดงออกและควรมีกิจกรรมที่หลากหลายสำหรับทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูกหลานอย่าให้เกมเป็นกิจกรรมเดียวที่ลูกทุ่มเทเวลาให้This research aims to study the behavior of computer game addiction among students in lower secondary school in Ladprao District and to study factors associated with the influencing computer game addiction of juveniles who are students in lower secondary school in Ladprao, Bangkok. Data were collected using the questionnaires as a tool for research. Samples were 341 students who are studying in lower secondary school in Ladprao District, The statistics used in data analysis were Percentage, Average, Standard Deviation, Analysis of Variance (ANOVA), and Multiple Linear Regression. It was found that the sample were both females and males. Most of them were aged 13 years and studying in the lower secondary school (M.1). Their parents are company employees whose income is over 30,000 Baht per month. The sample received pocket money 101 - 200 baht per day. They lived harmoniously with their parents in a single - detached house. The study found that most of computer game addict juveniles have computer at home. They get information about the games from the Internet and play the adventure game genre at home to relieve stress. Hypothesis testing found that peers association factor background of the samples included their age, parent's income and residence. The peers particularly talk about the game they like to play on the computer. Factors related to their attitudes towards their wrongdoings and factors about the self-control effecting computer game addiction among juveniles at a school in Ladprao District were statistically significant at the 0.05 level. The study recommended that parents should implement the measures to watch over, and maintain the surveillance warning and practically scheduled the time to play games of their children. Moreover, parents should educate their children to understand the disadvantages resulting from playing computer games. In order to help the children of computer games addiction, parents must gradually change children's behavior so that they can adjust. Most importantly, the parents must support their children physically and morally. Establishing common rules regarding the suitable time to play computer games, or arranging other creative activities are required to encourage their children to express themselves. A variety of activities for parents and children to mutually conduct together should be done as computer games must not be the only activity dedicated to children.ก-ฌ, 126 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการติดเกม -- ไทย -- กรุงเทพฯนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- ไทย -- กรุงเทพฯเพื่อนปัจจัยการคบเพื่อนที่มีผลต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานครPeers association factors affecting computer game addiction among juveniles : a case study of students in lower secondary school, Ladprao district, BangkokMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล