พราม อินพรมแสงเทียน อยู่เถาเสาวลี แก้วช่วยกัญฐิณัฐฎิ์ ผ้อล้วน2024-01-152024-01-15255925672559วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92815การจัดการทางการกีฬา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพ ปัญหา และแนวทางการจัดการกีฬาของเทศบาลนครตรัง ตามแนวคิดของทรัพยากรการจัดการ 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการจัดการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกีฬาของเทศบาลนครตรัง จำนวน 300 คน และ ประชาชนที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาของเทศบาลนครตรัง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านกีฬา จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยการนำข้อมูลที่ได้มาสร้างข้อสรุปด้วยการจำแนกข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า โดยรวมสถานภาพการจัดการกีฬา อยู่ในระดับ ดีมาก มีปัญหาการจัดการกีฬาอยู่ในระดับน้อย มีแนวทางการจัดการกีฬา ด้านบุคลากร คือ ควรมอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ ความถนัดของบุคลากร และควรมีการอบรมเกี่ยวกับความรู้ทางด้านกีฬา ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้นักกีฬาสังกัดเทศบาลได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในรายการแข่งขันต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ด้านการแข่งขันให้นักกีฬา ด้านสถานที่วัสดุอุปกรณ์ ควรมีระบบรักษาความปลอดภัยของสนามกีฬาหรือสวนสาธารณะ และควรมีเจ้าหน้าที่ดูแลความสะอาดของสถานที่และห้องน้ำอย่างทั่วถึง ควรสำรวจความต้องการอุปกรณ์กีฬาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้จัดสรรอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอกับความต้องการและทั่วถึง และควรวางแผนการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้สอดคล้องกับแผนการฝึกซ้อมของนักกีฬาด้วย ด้านการจัดการ ควรมีการวางแผนพัฒนากีฬาอย่างต่อเนื่องไม่เฉพาะช่วงที่มีการแข่งขันกีฬาเท่านั้น และควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือโครงการกีฬาให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึงThis research aimed to study the sports management status, problems, and guidelines of Trang Municipality according to the concept of management resources in four aspects as follows: 1) staff, 2) finance and budget, 3) location, equipment, and facilities, and 4) management. The quantitative and qualitative methods were used for this research. Data were collected by using questionnaires with 300 staff whose work related to the sports work of Trang Municipality and 400 people who participated in sports activities of Trang Municipality. Data were analyzed with mean and standard deviation. The interview forms were used for collecting data from three staff responsible for sports work. Data from the interview were analyzed by concluding and classifying data. The research results showed the followings: The sports management status was at a very high level. The sports management problems were at a low level. As for the sports management guidelines on staff, Trang Municipality should suitably assign work according to staff's knowledge, capability, and aptitude. Trang Municipality should organize training in sports knowledge. As for the budget, Trang Municipality should allocate the budget to enable municipal athletes to participate in various competitions to have more competitive experiences. As for location, materials, and equipment, Trang Municipality should provide a security system in the sports field or public park. There should be enough cleaning staff. Trang Municipality should survey related agencies' need for sports equipment to sufficiently provide sports equipment. Trang Municipality should suitably plan the support for sports equipment according to the athletes' practice plan. As for management, Trang Municipality should continuously plan sports development and widely disseminate information on sports activities or projects to people.ก-ฎ, 156 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้ากีฬา -- การจัดการกีฬา -- ไทย -- ตรังแนวทางการจัดการกีฬาของเทศบาลนครตรังGuideline for sports management in Trang municipalityMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล