วสันต์ อุนานันท์ขวัญเมือง แก้วดำเกิงมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ภรณี วัฒนสมบูรณ์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์2022-07-232022-07-232565-07-232564วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 44, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2564), 255-270https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72234การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกาย และพฤติกรรม การมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ในโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 407 คน ใช้การสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Chi-square ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.7 และเพศชายร้อยละ 39.3 อายุเฉลี่ย 14 ปี และพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 51.1 มีความรู้และ ความเข้าใจด้านกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 46.2 มีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมทางกายอยู่ใน ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 42.3 มีความเชื่อมั่นที่จะปฏิบัติกิจกรรมทางกายอยูUในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40.5 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า เพศ ดัชนีมวลกาย และพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย มี ความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ผลจากการศึกษา หน่วยงานเกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนตGนมีความรอบรู้ด้านกิจกรรม ทางกายและเพิ่มพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายทั้งในและนอกชั่วโมงเรียน รวมทั้งสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจใน การออกกำลังกายและมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนอย่างต่อเนื่องThis cross- sectional survey research was aimed to study physical literacy and physical activity behavior of Matayomsuksa 1 – 3 students in the co-ed junior secondary schools under the administration of the Office of the Basic Education Commission, in Inner City, Urban Fringe, and Suburb areas of Bangkok Metropolis. The samples consisted of 407 students who were selected by using the multi-stage sampling method, using an online questionnaire. Data analysis was done by employing descriptive statistics and the Chi-square test. The results found that 60.7% of the sampled students were females and 39.3% were males with a mean age of 14 years. Physical activity literacy was found at the moderate level (51.1%), 46.2% had a low level of physical activity knowledge and understanding, 42.3% had a moderate level of motivation to perform physical activity and 40.5% had a moderate level of confidence to perform physical activity behaviors. The results of the association analysis between the studied variables showed that gender, body mass index, and physical activity behaviors related significantly to physical activity literacy (p<0.05). It is recommended that the related organizations should promote junior high school students’ physical activity literacy and enhance students’ physical activity behaviors, both in and outside classes including, developing students’ motivation and confidence to perform physical activity behaviors continuously.thaมหาวิทยาลัยมหิดลความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกายพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกาย และพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานPhysical Literacy and Physical Activity Behavior among Junior High School Students in Office of the Basic Education CommissionResearch Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล