Pranomporn JuangphanichNarongchai PidokrajtChadaphan Suwannate2024-02-072024-02-07201120112011Thesis (M.Sc. (Sports Science))--Mahidol University, 2011https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94992Sports Science (Mahidol University 2011)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการไม่ฟังดนตรีและการฟังดนตรี 2 ประเภทคือ ดนตรีแอโรบิกและดนตรีที่ชอบต่อสมรรถภาพในการออกกำลังกายซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จำนวน 30 คน โดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยแต่ละคน เดิน/วิ่งทั้ง 3 วิธีจนกระทั่งหมดแรงที่วันและเวลาเดียวกัน ในสัปดาห์ติดต่อกัน บันทึกเวลาในการออกกำลังกาย, สภาวะอารมณ์ (vigor) และ ระดับความเหนื่อย (RPE) ที่อัตราการเต้นของหัวใจร้อยละ 70 ของชีพจรสูงสุดของแต่ละคน เวลาและระดับความเหนื่อยบันทึกอีกครั้งเมื่อผู้เข้ารับการทดลองหมดแรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Wilcoxson Signed-Rank test สำหรับทดสอบสภาวะอารมณ์ (vigor) และ Friedman Two-Way ANOVA สำหรับทดสอบระยะเวลาในการออกกำลังกายและระดับความเหนื่อย (RPE) ผลการวิจัยพบว่าดนตรีแอโรบิกมีระยะเวลาในการออกกำลังกายกว่าจะถึงที่อัตราการเต้นของหัวใจที่ร้อยละ 70 ของชีพจรสูงสุดนานกว่าดนตรีที่ชอบและไม่มีดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ดนตรีแอโรบิกและดนตรีที่ชอบช่วยเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายจนกระทั่งหมดแรงนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 โดยผู้ที่ฟังดนตรีแอโรบิกมีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการออกกำลังกายนานกว่าดนตรีที่ชอบ ซึ่งจากผลการวิจัยจึงสรุปว่าดนตรีมีผลต่อการเพิ่มสมรรถภาพในการออกกำลังกายix, 70 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าAerobic exercisesAerobic dancingMusic -- Physiological effectEffects of music on enhancing exercise performanceผลของดนตรีต่อการเพิ่มสมรรถภาพในการออกกำลังกายMaster ThesisMahidol University