ภูษิตา อินทรประสงค์จรรยา ภัทรอาชาชัยอารยา ขำสกุล2024-01-132024-01-13255825672558วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92629สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory Research) แบบภาคตัดขวางเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล คุณลักษณะงาน การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งให้กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งนี้จำนวน 394 คน แบบสอบถามส่วนที่มีความสมบูรณ์และสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 345 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87.34 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง ค่อนข้างมีความสุข รับรู้คุณลักษณะงานอยู่ในระดับต่ำ รับรู้สภาพสภาพแวดล้อมในการทำงานอยู่ในระดับไม่ดี ปัจจัยส่วนบุคคลมีเพียงรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่มีความสัมพันธ์กับความสุข คุณลักษณะงานไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง (r = .405 p-value ≤ 0.05) การรับรู้สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาและสังคมในการทำงาน ความมีอิสระในการทำงาน ผลสะท้อนกลับจากหน่วยงาน การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านกายภาพและความสำคัญของงาน สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรความสุขของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งได้ร้อยละ 32 (p-value ≤ 0.05) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง น่าจะส่งเสริมการเพิ่มรางวัลเป็นตัวเงิน ส่งเสริมการรับรู้คุณลักษณะงานในองค์กรโดยเพิ่มปริมาณงานและส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าของงาน และส่งเสริมความสุขในการทำงานโดยเฉพาะการสร้างเสริมบรรยากาศในที่ทำงานให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกผ่อนคลายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจThis research is explanatory research with a cross-sectional survey to explain the association between personal factors, job characteristics, working conditions, and working happiness of registered nurses at an autonomous university hospital. The data collection tool was a questionnaire. The sample group was composed of 394 registered nurses who implemented the tasks at an autonomous university hospital. 345, or 87.34%, of the completed questionnaires were analyzed. Data were analyzed by using chi-square test, Pearson's product moment correlation co-efficient, and multiple regression analysis. The results revealed that registered nurses at an autonomous university hospital were quite happy. Job characteristics perception was at low level. Working conditions were not at a good level. Personal factors, such as only an average income per month, was associated with the working happiness of registered nurses. Job characteristics did not have any association with the working happiness of registered nurses. Working conditions had a moderate positive level association with the working happiness of registered nurses (r=.405 p-value≤ 0.05). Psychological and social working conditions, job autonomy, feedback from agents, working conditions, and task significance can explain 32% of the variance of the working happiness of registered nurses (p-value≤0.05). According to the results, nursing departments should increase monetary rewards to promote job characteristics' perception in the organization by increasing job availability, promoting job enrichment, and promoting happiness in work, especially by creating a good atmosphere in the workplace so that the human resources will be physically and mentally relaxed.ก-ญ, 165 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความสุขพยาบาลวิชาชีพ -- ความพอใจในการทำงานโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งFactors related to the happiness of registered nursesin an autonomous university hospitalMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล