วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ถาวร กมุทศรีมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา2015-03-032017-03-212015-03-032017-03-212015-03-032557-12วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ปีที่ 14, ฉบับที่ 2, ( 2557), 17-24https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1454กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ต้องใช้การกระโดดเป็นอย่างมาก เช่น ในจังหวะของการตบลูกหรือสกัดกั้นลูก ดังนั้น การทดสอบสมรรถภาพการกระโดด (Jump performance) จึงเป็นสิ่งสาคัญ การศึกษาสมรรถภาพการกระโดดในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่จะรายงานในเรื่องความสูงของการกระโดด แต่ข้อมูลด้านอัตราการพัฒนาแรง (Rate of force development: RFD) โดยเฉพาะในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงยุวชน ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาสมรรถภาพในการกระโดด (Jump performance) ของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย (ทีมชาติ) และยุวชนทีมชาติไทย (ยุวชน) นอกจากนี้ ยังเปรียบเทียบระหว่างขาทั้งสองข้าง นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยจานวน 11 คน และยุวชนทีมชาติไทยจานวน 10 คน ได้ทาการทดสอบการกระโดด 2 ท่า คือ squat jump (SJ) และ countermovement jump (CMJ) นักกีฬาจะยืนบนแผ่นวัดแรง ที่เก็บข้อมูลด้วยความถี่ 1000 เฮิรตซ์ จากการทดสอบสถิติด้วย Man Whitney U พบว่ากลุ่มทีมชาติมีเพียงกำลังขาขวาที่มากกว่ากลุ่มยุวชนทีมชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองท่ากระโดด และจากการทดสอบด้วยสถิติ Wilcoxan sign rank test ไม่พบความแตกต่างระหว่างขาทั้งสองข้างของนักกีฬาแต่ละกลุ่มอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างทางสถิติ แต่กลุ่มทีมชาติมีแนวโน้มว่าค่าสมรรถภาพการกระโดดมากกว่ากลุ่มยุวชนทีมชาติ เนื่องจากอัตราการเกิดแรงมีค่าใกล้เคียงกันทั้งสองกลุ่ม แต่กำลังของกลุ่มนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติมีค่ามากกว่า ดังนั้น กลุ่มนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงยุวชน ควรเน้นพัฒนาการสร้างความเร็วเพื่อเพิ่มกำลังในการกระโดดVolleyball depends heavily on jumps including hitting and blocking. Thus, Jump performance test is of importance. Most volleyball researches in Thailand are commonly reported jump height but data related to rate of force development (RFD) are limited particularly in the youth female volleyball players. Therefore, the purpose of this study is to investigate Jump performance of Thai national (NG) and youth national volleyball players (YG) and to compare the performance between the legs. Eleven Thai national volleyball and ten youth national volleyball players were performed 2 jump tests: squat jump (SJ) and countermovement jump (CMJ). Force plates were used to collect data at the sampling frequency of 1000 Hz. Man Whitney U revealed only right power of NG is significantly higher than YG in both SJ and CMJ. Wilcoxan sign rank test did not show any significant differences between two legs. However, NG shows greater jump performance than YG. RFDs in both groups show similar values but NG has greater power. This may indicate that YG should be emphasized in improvement of velocity in order to increase power.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการกระโดดแบบย่อขาค้างไว้การกระโดดแบบย่อขาอย่างรวดเร็วอัตราการพัฒนาแรงCountermovement jumpSquat jumpPowerRate of force developmentวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาOpen Access articleJournal of Sports Science and Technologyการเปรียบเทียบสมรรถภาพการกระโดดระหว่างนักกีฬาทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและยุวชนArticleสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย