Chanin LimwongseYupin SuputtamongkolSontana SiritantikornThanavadee Prachason2023-09-072023-09-07201220122023Thesis (Ph.D. (Immunology))--Mahidol University, 2012https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89475ผู้วิจัยจึงได้ ทำการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของยีนทั้งจีโนมในผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ของการใช้รูปแบบของ mRNA ในการวินิจฉัยโรค และเพื่อสำรวจการตอบสนองในระดับ transcription ของผู้ป่วยใน ระหว่างการติดเชื้อนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อชนิดอื่นๆที่มีลักษณะทางคลินิกที่คล้ายคลึงกัน พบว่า transcript จำนวน 65 transcripts มีรูปแบบการแสดงออกของยีนที่แตกต่างออกไปเมื่อเปรียบเทียบกับโรคไข้รากสาดใหญ่ ซึ่ง ลักษณะการแสดงออกดังกล่าวสามารถแยกแยะผู้ป่วยโรคนี้จากผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มอื่นๆได้ เมื่อใช้รูปแบบการแสดงออก ของยีนที่จำเพาะกับโรคนี้พียงแค่ 5 ยีน ผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่ก็ยังสามารถถูกจัดให้อยู่รวมกลุ่มกันได้ จากการศึกษา เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่เจ็บป่วย พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่ มี transcript จำนวน 613 transcripts ที่มีระดับการแสดงออกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างน้อยสองเท่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยีนที่มีบทบาทในระบวนการวัฏจักรของ เซลล์ การแบ่งเซลล์ และการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน โดยมียีน IFNG และยีนที่เกี่ยวข้องกันกับยีนนี้ เช่น GBP1, IDO1 และ FASLG รวมอยู่ในรายการดังกล่าวด้วย สิ่งที่น่าประหลาดใจ คือ การสังเกตพบว่า transcript ที่มีการแสดงออก ลดลงในผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่จำนวน 517 transcripts เป็นยีนเกี่ยวกับกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการตอบสนองเพื่อป้องกันตนเองและการอักเสบ และกระบวนการ chemotaxis เป็นหลักxiv, 117 leaves : col. ill.application/pdfengGene Expression ProfilingIndoleamine-Pyrrole 2,3,-DioxygenaseOrientia tsutsugamushiScrub TyphusTyphus, Endemic Flea-BorneExpression profiling and identification of host response genes in patients with scrub typhusการศึกษารูปแบบการแสดงออกของยีนและการค้นหายีนที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่Mahidol University