เนาวรัตน์ พลายน้อยพรธิดา วิเศษศิลปานนท์เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว2024-01-232024-01-23255625672556วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประชากรศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93564ประชากรศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการเข้าถึงและเข้าไม่ถึงการศึกษา และปัจจัยที่สัมพันธ์กับ การเข้าถึงและเข้าไม่ถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า ในพื้นที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง บุตรแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาเดิมๆ ที่พบมาแล้วยังปรากฏอยู่ ถูกผลิตซ้ำจนอาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง กล่าวคือ บุตรแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการศึกษาใน รูปแบบที่มีอยู่ในบริบทไทย ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงและเข้าไม่ถึงการศึกษาได้แก่ ทัศนคติของผู้บริหารโรงเรียน นโยบายด้านการศึกษา การปฏิบัติตามนโยบายของโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และตัวเด็ก ตามมติคณะรัฐมนตรี 5 กรกฎาคม 2548 เป็นเงื่อนไขด้านนโยบายที่เปิดโอกาสทางการศึกษาให้บุตรแรงงานข้ามชาติ เหล่านี้เข้ารับการศึกษาได้ แต่อุปสรรคที่สำคัญของการเข้าไม่ถึงการศึกษาคือ ทัศนคติเชิงลบของผู้บริหารโรงเรียน ความไม่สนใจและตระหนักในเรื่องนี้อย่างจริงจังของผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การขาดความเข้าใจนโยบาย แนวปฏิบัติที่ชัดเจนของผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงการศึกษาของเด็กแม้มีเป็นสัดส่วนน้อย ประกอบด้วย ทัศนคติที่เปิดกว้างของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของรัฐไทย ความผูกพันต่อการอยู่ในประเทศไทย ของผู้ปกครอง การเห็นความสำคัญของการศึกษา การรับรู้สิทธิทางการศึกษา การมีความพร้อมทางเศรษฐกิจ การมีเครือข่ายชุมชน และเด็ก สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ อายุที่ไม่มากเกินไป การมีสถานะทางกฎหมาย และการที่ไม่ต้องช่วยเหลือผู้ปกครองทำงาน ดังนั้น การมองเห็นด้านบวกของการจัดการศึกษาแก่เด็กทุกคนโดยไม่กีดกัน เพื่อที่เด็กควรจะเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในอนาคต และอยู่รอดอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมใดก็ตามเป็นสิ่งที่ควรสร้างการรับรู้ และความตระหนักในสังคมไทยอย่างจริงจังและเข้มข้นThe purpose of this research is to study the state of educational accessibility and inaccessibility, and basic educational accessibility and inaccessibility factors of transnational migrant workers' children from Burma in the area of Bangkhuntian District, Bangkok Metropolis. The key informants consist of school administrators, parents, and transnational migrant workers' children from Burma. The data was collected by interview and observation. The results showed that the same problems which used to be found still appear, and are being repeated. This may become a chronic problem; that is, most transnational migrant workers' children from Burma do not have access to education in Thailand. The factors in this study associated with the accessibility and inaccessibility consist of the attitudes of school administrators and education policy. According to the school policy, family, community, and children from the cabinet issued on July 5, 2005, it is the policy condition of educational opportunities for the transnational migrant workers' children to have education. However, the major obstacles of educational inaccessibility are the negative attitudes of school administrators, the inattentiveness, and inability to take this topic seriously of policy leaders in practice. The school administrators do not realize the seriousness of this matter. They do not put policy into action, and lack understanding of the policy, including clear the guidelines for practitioners. Even a small portion, the factors that affect on children's accessibility to have education include the administrator and Thai officer, should have their attitudes of high openness, parents have an attachment to Thailand and realization in education, perception of educational right, availability in the economy, and community connections. Finally regarding the children, they should have the ability to communicate in Thai, not be too old, have legal status, and have no need to help their parents work. Thus, Thai society should have the realization of the positive side of educational management without any discrimination; As a result, the children can become mature people in the future, and survive with dignity; that is, Thai society needs to have the awareness and realization to go about this seriously and intensively.ฌ, 216 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการศึกษาขั้นพื้นฐานการย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯการศึกษา -- แง่สังคมการเข้าถึงและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาพื้นที่เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครAccessibility and related factors to basic education of transnational migrant workers' children : a case study of Bangkhuntian district, Bangkok MetropolisMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล