วารี วิดจายาปัทชา กระแสร์เสียงศจีรา คุปพิทยานันท์ณัฐวุฒิ ธานีมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา2015-03-032017-03-162015-03-032017-03-162015-03-032010-12วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, (ธ.ค. 2554), 106-132https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1421วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อต้องการเปรียบเทียบผลของการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยและโยคะต่อสมรรถภาพทางกาย อาสาสมัครจานวน 26 คนจะถูกแบ่งออกป็น 3กลุ่มคือ กลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย ( จำนวน8 คน) กลุ่มฝึกโยคะ (จำนวน 9คน ) กลุ่มควบคุม (จำนวน9คน)ตามลำดับ กลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย และ กลุ่มฝึกโยคะจะทำการฝึกด้วยความหนัก 60%ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด 60 นาที ต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตัวแปรที่ใช้วัดคือน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลัง ความอ่อนตัว ความจุของปอดและค่าเฮมาโตคริทจะถูกวัดและแสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการฝึก 8สัปดาห์ ผลของการวิจัยพบว่าน้ำหนักตัวของกลุ่มฝึกไหว้ครูำมวยไทย กลุ่มฝึกโยคะและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกมีค่าเท่ากับ 57.37 + 13.24 กิโลกรัม, 55.26 + 10.15 กิโลกรัมและ 47.72 + 7.29 กิโลกรัม ตามลาดับ หลังจากการฝึก จะมีค่าเท่ากับ 56.29 + 12.09 กิโลกรัม, 53.87 + 9.39 กิโลกรัม และ48.00 + 7.58 กิโลกรัมตามลำดับ น้ำหนักตัวของกลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย และกลุ่มฝึกโยคะจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ทั้ง 2 กลุ่มในขณะที่กลุ่มควบคุมมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนีมวลกายของกลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย และกลุ่มฝึกโยคะแต่ในกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ของกลุ่มฝึกไหว้ครูรำมวยไทย กลุ่มฝึกโยคะและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกมีค่าเท่ากับ 38.50 + 7.24 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัม, 35.68 + 6.12 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมและ 38.62 + 3.60 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมตามลาดับ หลังจากการฝึก จะมีค่าเท่ากับ 41.68 + 4.36 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัม, 40.08 + 5.10 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมและ39.60 + 7.23 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมตามลำดับค่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของกลุ่มที่ฝึกทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่าการไหว้ครูรำมวยไทยสามารถส่งผลให้สมรรถภาพทางกายเพิ่มมากขึ้นได้เหมือนกับการฝึกโยคะดังนั้นการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยจึงสามารถใช้เป็นทางเลือกของการออกกำลังกายอีกวิธีหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพthaมหาวิทยาลัยมหิดลไหว้ครูรำมวยไทยโยคะการฝึกสมรรถภาพทางกายOpen Access articleวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาJournal of Sports Science and Technologyผลของการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยและโยคะต่อสมรรถภาพทางกายArticleสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย