พวงผกา มั่นหมายPoungpaka Monmaiสุภาพ อารีเอื้อSuparb Aree-Ueพรรณวดี พุธวัฒนะPanwadee Putwatanaวิโรจน์ กวินวงศ์โกวิทViroj Kawinwonggowitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาออร์โธปิดิกส์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาล2018-09-102018-09-102018-09-102011Journal of Nursing Science. Vol 29, Nol. 4, ( Oct.- Dec. 2011), 10-17https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/26919Purpose: To examine the effects of constipation prevention program on incidence and severity ofconstipation in hospitalized elderly undergoing hip surgery. Design: Quasi-experimental design. Methods: The sample consisted of 60 hospitalized elderly undergoing hip surgery. The controlgroup (n = 30) received usual care, whilst the experimental group (n = 30) participated in a constipationprevention program. Data were collected by the following instruments: the daily defecation record form,the bowel pattern assessment form, and the constipation risk assessment form. Constipation wasevaluated by the frequency of defecation from the first to the fifth postoperative day, from 3 days beforesurgery to 5 days post operation, and the first day for defecation postoperatively, Data were analyzed byusing descriptive statistics, Chi-square test, and Independent t-test. Main findings: The elderly who participated in the experimental group had statistically significantlower incidence of constipation postoperatively and less severity of constipation than those in thecontrol group (p < .01 and p < .05, respectively). Conclusion and recommendations: The results indicated that the constipation preventionprogram for hospitalized elderly with hip surgery was effective in reducing the incidence and severity ofconstipation. The program should be recommended as a tool to improve quality of care for hospitalizedelderly who are at risk of developing constipation.วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูก ต่ออุบัติการณ์และระดับความรุนแรงของอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพก เป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย ที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ และกลุ่มทดลอง 30 ราย ที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว แบบบันทึกการถ่ายอุจจาระประจําวัน แบบประเมินแบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ และสถิติที ผลการวิจัย: ผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มทดลอง มีอุบัติการณ์เกิดอาการท้องผูกหลังผ่าตัด และมีระดับความรุนแรงของการเกิดอาการท้องผูกน้อยกว่าผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มควบคุม (ประเมินจากจํานวนครั้งในการถ่ายอุจจาระได้หลังผ่าตัดวันแรกจนถึงวันที่ 5 หลังผ่าตัด ตั้งแต่ 3 วันก่อนผ่าตัดจนถึงวันที่ 5 หลังการผ่าตัด และจํานวนวันที่สามารถถ่ายอุจจาระได้เป็นครั้งแรกหลังผ่าตัด) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01 และ p < .05 ตามลําดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูก สําหรับผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพก ช่วยลดอุบัติการณ์อาการท้องผูก และลดความรุนแรงของอาการท้องผูกได้ จึงควรมีการนําไปใช้กับผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพก เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นengMahidol Universityconstipation preventionhip surgeryhospitalized elderlyการป้องกันอาการท้องผูกผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลการผ่าตัดกระดูกสะโพกOpen Access articleJournal of Nursing Scienceวารสารพยาบาลศาสตร์The Effects of a Constipation Prevention Program on Incidence and Severity of Constipation in Hospitalized Elderly undergoing Hip Surgeryผลของโปรแกรมการป้องกันอาการท้องผูกต่ออุบัติการณ์ และระดับความรุนแรงของอาการท้องผูกในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล