พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณดุสิต สุจิรารัตน์วรรษนันท์ นามเทพ2024-01-222024-01-22255925672559วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลอาชีวอนามัย))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93333การพยาบาลอาชีวอนามัย (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานหนัก ยังคงมีการรายงานการเกิดอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของรู้เท่าทันเรื่องสุขภาพ วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของแรงงานข้ามชาติ เป็นการศึกษาวิจัยพรรณาเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (พม่า กัมพูชา และลาว) ที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง จำนวน 380 คน ในปี 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้ล่ามแปลภาษา และการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยพยาบาลอาชีวอนามัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติการถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า ร้อยละ 63.5 เพศหญิง ร้อยละ 56.1 การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ระดับประถมศึกษา (ร้อยละ55.8) อายุ เฉลี่ย 27.1 ปี (SD = 5.19) ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 2.19 ปี (SD = 1.23) พบอัตราการ เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ 10.3 โดยรวมแรงงานข้ามชาติมีระดับการรู้เท่าทันเรื่องสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.2) โดยเฉพาะทักษะการฟังและการอ่านอยู่ในระดับต่ำ ส่วนการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของแรงงานข้ามชาติที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รับรู้ดีกว่าแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (F=290.83, p <.001) แรงงานข้ามชาติที่มีระดับการรู้เท่าทันเรื่องสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจาการทำงานเป็น 18 เท่าของระดับการรู้เท่าทันสุขภาพในระดับสูง (OR=17.6 95% CI = 4.87-63.65, p = <0.001) และพบว่าพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานมี ความสัมพันธ์กับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้ร้อยละ 22 (OR=0.78 95% CI=0.70-0.86, p= <0.001) ปัจจัยทำนายที่ดี ที่สุดต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานครั้งนี้คือ พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานและระดับการรู้เท่าทันเรื่องสุขภาพ (Wald test = 20.4 และ 19.1) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ คือ การส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยและการพัฒนาทักษะด้านการรู้เท่าทันเรื่องสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานการพูด ฟัง อ่าน เขียนภาษาไทยเพื่อเพิ่มระดับ การรู้เท่าทันเรื่องสุขภาพขั้นพื้นฐาน ให้สามารถสื่อสารด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนสามารถตัดสินใจและเลือกปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมการทำงานด้วยความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานSeveral accidents and injuries among international migrant workers (IMWs) in Thailand, especially industrial sectors have continuously been reported. This study aimed to examine the relationship between health literacy, safety behaviors, organizational safety culture and accidents at work. Descriptive survey was performed with 380 legal IMWs using stratified simple random sampling in Rayong Province in 2015. Data were collected by OHNs in health screening and structure interview by IMWs translators. Descriptive statistics, and multiple logistic regression were tested. The results of the study revealed that the majority of IMWs were from Myanmar (65.3 %), females (56.1%) and having primary school education (55.8 %). The average age of the participants was 27.1 years old (SD = 5.19 years) with a mean of working experiences in Thailand of 2.19 years (SD = 1.23 years). Approximately 10.3% of IMWs had experienced accidents. Their health literacy was at a moderate level (59.2%), which made it difficult for them to understand safety instructions (63.4%), especially due to poor listening and reading skills. The perception of organizational safety culture in large factory workers was also higher than those the other factories, (F=290.83, P<0.001). In general, most IMWs had low health literacy and safety behaviors related to accidents in workplace (OR=17.6 95% CI = 4.87-63.65, p = <0.001) and (OR=0.78 95% CI=0.70-0.86, p= <0.001), respectively. Best predictors for accident were safety behaviors and health literacy (Wald test = 20.4 and 19.1), respectively. Accidents/injuries at work could be explained with safety behaviors and health literacy of IMWs. Therefore, intervention to improve safety behaviors and health literacy should be conducted for IMWs in factories, especially by improving Thai listening skills in order to raise health literacy, and also by increasing safety behaviors focus on work practicesก-ฐ, 311 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการทำงาน -- อุบัติเหตุ -- ไทย -- ระยองความปลอดภัยในการทำงานการจ้างงานในต่างประเทศการรู้เท่าทันเรื่องสุขภาพ พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของแรงงานข้ามชาติในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดระยองHealth literacy, safety work behaviors, organizational safety culture affecting accidents at work among international migrant workers in Rayong provinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล