Sureeporn PunpuingGuest, PhilipAree JampaklaySaranya Sucharitakul2023-09-052023-09-05201020102023Thesis (Ph.D. (Demography))--Mahidol University, 2010https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89330การย้ายถิ่นของสมาชิกครัวเรือนเพื่อการทำงานต่างถิ่น เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตและโอกาสทางเศรษฐกิจของผู้ย้ายถิ่นและครัวเรือน การย้ายถิ่นในระยะเวลานานต่างกัน อาจส่งผลที่แตกต่างต่อการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินของครัวเรือนของผู้ย้ายถิ่นนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการย้ายถิ่นออกรวมถึงระยะเวลาการย้ายถิ่นที่มีต่อการ เปลี่ยนแปลงทรัพย์สินของครัวเรือน การศึกษานี้ใช้ข้อมูลของครัวเรือนที่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อ โครงการกาญจนบุรีต่อเนื่อง 5 ปี ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการศึกษาทรัพย์สินครัวเรือนที่เปลี่ยนแปลง หลังจากผ่านช่วงเวลาหนึ่ง โดยข้อมูลประวัติการย้ายถิ่นของสมาชิกในครัวเรือนในช่วงเวลาที่ สอดคล้องกันนับเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาศึกษาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินนั้น จากผลการศึกษา พบว่าระยะเวลาของการย้ายถิ่นออกของสมาชิกครัวเรือน มีผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินกลุ่มที่ใช้เพื่อการอุปโภคทั่วไป และทรัพย์สินกลุ่มที่ก่อให้เกิดรายได้ อย่าง มีนัยสำคัญ ครัวเรือนที่มีสมาชิกย้ายถิ่นออกในช่วงเวลาที่นานกว่ามีแนวโน้มที่จะมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น น้อยกว่าครัวเรือนที่มีสมาชิกย้ายถิ่นออกในช่วงเวลาที่สั้นกว่า ผลการศึกษานี้ทำให้ได้ข้อเสนอแนะ ว่าควรส่งเสริมให้ประชาชนทำงานภายในท้องถิ่นของตน และหากครัวเรือนมีความจำเป็นต้องย้าย ถิ่นไปทำงานที่อื่นก็ควรย้ายเป็นระยะเวลาสั้นจะส่งผลต่อเศรษฐกิจครัวเรือนดีกว่าย้ายเป็นเวลานาน ผลการศึกษามีประโยชน์ต่อนโยบายลดความยากจนและนโยบายพัฒนาชนบทxi, 78 leaves : ill.application/pdfengAsset allocationEmigration and Immigration -- Thailand -- Kanchanaburi -- Economic AspectsMigration duration and household asset change in Kanchanaburi demographic surveillance system, Thailandระยะเวลาย้ายถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินครัวเรือนในระบบเฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรีMahidol University