ปิยธิดา เฉียบแหลมนิตยา สินสุกใสนันทนา ธนาโนวรรณPiyathida ChiablamNittaya SinsuksaiNanthana Thananowan2024-06-282024-06-282567-06-292565วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 4 (ต.ค.- ธ.ค. 2565), 33-48https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99209วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบิดามีส่วนร่วมต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน และการรับรู้การสนับสนุนจากบิดา ในมารดาที่มีบุตรคนแรก รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ประเภทศึกษาสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่มีบุตรคนแรกที่พักฟื้นในหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 54 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 27 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบิดามีส่วนร่วม ได้แก่ การให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้บิดามีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูก และการโทรศัพท์ติดตามเพื่อให้การปรึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินประสิทธิภาพการดูดนมของทารก แบบสัมภาษณ์ปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสัมภาษณ์การให้อาหารทารก และแบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนจากบิดา เปรียบเทียบสัดส่วนมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสนับสนุนจากบิดา ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้การทดสอบซี (z-test) และการทดสอบที (independent t-test) ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีสัดส่วนมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = 8.01; p < .001) และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสนับสนุนจากบิดาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.40; p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบิดามีส่วนร่วมสามารถเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือนในมารดาที่มีบุตรคนแรก และเพิ่มการรับรู้การสนับสนุนจากบิดาได้ พยาบาลสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการปฏิบัติพยาบาล และควรศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยบิดามีส่วนร่วมเพิ่มเติมในมารดากลุ่มอื่นๆ หรือในโรงพยาบาลอื่นวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบิดามีส่วนร่วมต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน และการรับรู้การสนับสนุนจากบิดา ในมารดาที่มีบุตรคนแรก รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ประเภทศึกษาสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่มีบุตรคนแรกที่พักฟื้นในหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 54 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 27 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบิดามีส่วนร่วม ได้แก่ การให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้บิดามีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูก และการโทรศัพท์ติดตามเพื่อให้การปรึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินประสิทธิภาพการดูดนมของทารก แบบสัมภาษณ์ปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสัมภาษณ์การให้อาหารทารก และแบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนจากบิดา เปรียบเทียบสัดส่วนมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสนับสนุนจากบิดา ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้การทดสอบซี (z-test) และการทดสอบที (independent t-test) ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีสัดส่วนมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = 8.01; p < .001) และมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสนับสนุนจากบิดาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.40; p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบิดามีส่วนร่วมสามารถเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือนในมารดาที่มีบุตรคนแรก และเพิ่มการรับรู้การสนับสนุนจากบิดาได้ พยาบาลสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการปฏิบัติพยาบาล และควรศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยบิดามีส่วนร่วมเพิ่มเติมในมารดากลุ่มอื่นๆ หรือในโรงพยาบาลอื่นPurpose: To evaluate the effects of breastfeeding promotion-father’s involvement program on the rate of 1-month exclusive breastfeeding and perceptions of father’s support among the first-time mothers. Design: Quasi-experimental research, the posttest only control group design. Methods: The study sample included 54 first-time mothers admitted to the postpartum unit at Phrachomklao Hospital, Phetchaburi Province. They were divided into control and experimental groups, with 27 participants in each group. The sample in the control group received only routine nursing care, whereas those in the experimental group received routine nursing care combined with breastfeeding promotion-father’s involvement program including provision of breastfeeding knowledge and practice, father’s participation of breastfeeding and child-rearing, and telephone follow-up for consultation. Data were collected using the personal data questionnaire, effective suckling assessment, breastfeeding problem interview form, feeding interview form and perceived father’s support questionnaire. Z test and independent t-test were used to analyze the data. Main findings: The proportion of 1-month exclusive breastfeeding in the experimental group was significantly higher than those in the control group (z = 8.01; p < .001). Average scores of perceived father’s support were significantly higher in the experimental group than those in the control group (t = 11.40; p < .001). Conclusion and recommendations: The breastfeeding promotion-father’s involvement program could increase 1-month exclusive breastfeeding in the first-time mothers and perception of father’s support. Therefore, nurses could apply this program to nursing practice. Furthermore, the program should be tested in other groups of mothers or setting. Article Detailsapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวบิดาการรับรู้มารดาหลังคลอดผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบิดามีส่วนร่วมต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน และการรับรู้การสนับสนุนจากบิดา ในมารดาที่มีบุตรคนแรกEffects of Breastfeeding Promotion-Father’s Involvement Program on 1-month Exclusive Breastfeeding and Perceived Father’s Support among First-time MothersArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล