ปาหนัน พิชยภิญโญอาภาพร เผ่าวัฒนาเพ็ญจันทร์ มีแก้ว2024-01-222024-01-22255825672558วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93385การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นรวม 66 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมชนิด 1 วัน จำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับโปรแกรมชนิด 3 วัน จำนวน 33 คน โปรแกรมประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ (The IMB Model) โดยนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มได้รับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีและการป้องกันการติดเชื้อ ส่งเสริมทัศนคติด้านบวกต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ และฝึกทักษะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ โดยที่โปรแกรมชนิด 1 วัน เน้นการส่งเสริมทักษะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ ในขณะที่โปรแกรมชนิด 3 วันเน้นการส่งเสริมความรู้และทัศนคติด้านบวกต่อการปฏิบัติพฤติกรรม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดผลก่อนทดลอง หลังทดลองทันที และระยะติดตามผล 2 สัปดาห์หลังการทดลอง วิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chisquare, Independent sample t-test, Paired t-test, Repeated-measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับ เชื้อเอชไอวีและการป้องกันการติดเชื้อ ทัศนคติต่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ และการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ส่วนคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบพบว่าไม่ แตกต่างจากก่อนทดลอง และพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า โปรแกรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ซึ่งประยุกต์ใช้ The IMB Model สามารถเพิ่มความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กวัยรุ่นและครูอาจารย์ควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์The purpose of this study was to investigate the effects of the 1-day HIV prevention program compared to the 3-day HIV prevention program among male secondary school students. A randomized control trial was conducted for 66 male secondary students who were then assigned to the experimental group (1-day program, n = 33) and the comparison group (3-day program, n = 33). The Information-Motivation-Behavioral Skills Model (the IMB model) was used as a conceptual framework. The program intervention in both groups included promoting information about HIV and its prevention, promoting a positive attitude toward HIV prevention, and practicing HIV preventive skills. In addition, discussion time in the 3-day program was longer than in the 1-day program whereas skills practicing in the 1-day program was more than in the 3-day program. Data were collected by self-administered questionnaires at baseline, immediately after intervention, and at the 2-week follow up. Statistical analysis was performed using mean, percentile, standard deviation, chisquare, independent sample t-test, paired t-test and repeated-measure ANOVA. The results revealed that the mean scores of knowledge about HIV and its prevention, attitude toward HIV prevention and self-efficacy toward HIV prevention of the 1- day and 3-day programs at the end of study were statistically higher than those at the baseline (p < .05). The mean score of HIV preventive behaviors at the end of study were not significantly different in both groups. However, the 1-day program had a statistically higher mean score of HIV preventive behavior than in the 3-day program (p < .01) whereas the participants in the 3-day program had a statistically higher mean score of attitude toward HIV prevention than those in the 1-day program (p< .05). The study findings suggest that both programs applying the IMB Model can improve knowledge about HIV and its prevention, attitude toward HIV prevention, selfefficacy toward HIV prevention, and HIV preventive behaviors in male secondary students over time. Also, health professionals and teachers should be motivated to practice these programs.ก-ญ, 180 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการติดเชื้อเอชไอวี -- การป้องกันและควบคุมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- พฤติกรรมทางเพศวัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศการเปรียบเทียบโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ชนิด 1 วันและ 3 วัน ต่อความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นComparison of the 1-day and 3-day HIV prevention programs to knowledge, attitude, self-efficacy, and preventive behavior among male secondary school studentsMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล