ศิริวรรณ จันทร์แจ้งพัชราพร เกิดมงคลทัศนีย์ รวิวรกุลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข2022-07-122022-07-122565-07-132562วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2562), 52-62https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72114โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อัตราการตรวจ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสตรีมุสลิม การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิม กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิม จำนวน 64 คน โดยแบ่งกลุ่มทดลอง 32 คน และส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 32 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จานวน 2 ครั้ง ร่วมกับการติดตามกระตุ้นเตือนทางโทรศัพท์ สาหรับกลุ่มเปรียบเทียบได้รับเอกสารแนะนำความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ร้อยละ 93.8 มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิมไปประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในชุมชนอื่น ๆ ได้Cervical cancer is a major public health problem that is inclined to increase. However, the rate of cervical cancer screening is inclined to decrease, especially in Muslim women groups. A quasi-experimental study aimed to study the effect of a protection motivation program on pap smear screening among Muslim women health volunteers. Sixty four of Muslim women health volunteers participated in this study, were equally randomized into a treatment or a control group. The experimental group received a protection motivation program for pap smear screening 2 times and follow-up via telephone. The comparison group received cervical cancer documentation. Data were collected by using questionnaires and were analyzed by using Paired t-test and Independent t-test. The results indicated that the number of pap smear screening sample of the experimental group was higher than the comparison group, which accounted for 93.8 %. The experimental group had mean score of perceived severity regarded to cervical cancer, perceived probability regarded to cervical cancer, and self-efficacy expectancy toward behavior in cervical cancer prevention after receiving the program better than before receiving the program and comparison group. The difference was statistically significant. (p<0.001) Findings suggested that protection motivation program on pap smear screening for Muslim women health volunteers could be applied to promote in pap smear screening among women in other communities.thaมหาวิทยาลัยมหิดลแรงจูงใจการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิมผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิมThe Effect of a Protection Motivation Program on Pap Smear Screening Among Muslim Women Health VolunteersResearch Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล