อรทัย อาจอ่ำOrathai Ard-amมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2015-02-232017-10-272015-02-232017-10-272558-02-232531-07วารสารประชากรและสังคม. ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (2531), 77-98.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2990ระบบสวัสดิการสังคมของแต่ละประเทศมีประวัติการพัฒนาของตนเอง นักวิชาการในกลุ่มประเทศตะวันตกหลายท่านได้พยายามที่จะวิเคราะห์และค้นหาสาเหตุหรือปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวขึ้นมา และนำไปสู่การสรุปออกมาเป็น ทฤษฎีการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม ทัศนะเชิงทฤษฎีของนักวิชาการเหล่านี้มีความแตกต่างกันและสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน กลุ่มแรก คือ กลุ่มทฤษฎีความทันสมัย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ก) ทัศนะเชิงทฤษฎีปัญหาสังคม โดยมีฟลอร่า เป็นผู้นำทางความคิดของกลุ่มนี้ และ ข) ทัศนะเชิงทฤษฎีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ผู้นำทางความคิดของกลุ่มนี้ คือ วิเลนสกี้ สำหรับกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มทฤษฎีการพัฒนาทางการเมืองและการกระจายทรัพยากรทางอำนาจ ผู้นำที่สำคัญของแนวคิดนี้ก็คือ คอร์บี้ ชาเลฟ และเมียดาล บทความนี้ได้พยายามที่จะนำเอาแนวคิดหรือทัศนะเชิงทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมาวิเคราะห์การพัฒนาหรือไม่พัฒนาระบบสวัสดิการสังคมของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรคของการประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือกฎหมายประกันสังคม ข้อสรุปที่ได้จากผลของการวิเคราะห์ก็คือ การพัฒนาหรือไม่พัฒนาระบบสวัสดิการสังคมของประเทศไทยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองหรือทรัพยากรอำนาจเป็นหลัก ซึ่งก็หมายถึงว่า ทัศนะเชิงทฤษฎีทรัพยากรทางอำนาจของ คอร์บี้ มีความสอดคล้องกับการนำมาวิเคราะห์การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมของไทยมากที่สุดthaมหาวิทยาลัยมหิดลการพัฒนาสวัสดิการสังคมปัญหาสังคมนโยบายOpen Access articleJournal of Population and Social Studiesวารสารประชากรและสังคมทัศนะเชิงทฤษฎีของการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม : ทัศนะใดที่สอดคล้องกับสังคมไทย ?Theoritical perspectives on the development of social welfare services : which perspective in relevent to Thai society ?Article