ศิริไชย หงษ์สงวนศรีอาภา ภัคภิญโญพลิศรา ธรรมโชติรัญญา จิตต์อาจหาญ2024-01-052024-01-05256125612567วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91889จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความนับถือตนเอง ภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง กับสถานะทางมิติสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่กาลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 โรงเรียน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย จำนวน 542 คน นักเรียนหญิง 673 คน มีอายุเฉลี่ย 14.1 ปี (S.D. = 0.75) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับความชื่นชอบและเป็นที่นิยมมีคะแนน Rosenberg Self-Esteem Scale ฉบับภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธและไม่เป็นที่นิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (30.2 ± 3.3 vs 27.9 ± 4.5, p < 0.001) และมีคะแนน CES-D ฉบับภาษาไทย ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (16.1 ± 7.4 vs 19.0 ± 9.9, p < 0.05) นักเรียนที่เป็นที่นิยมและไม่เป็นที่นิยมมีรูปแบบการเลี้ยงดูจากการประเมินโดย PBI ฉบับภาษาไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นักเรียนที่เป็นที่นิยมได้รับการเลี้ยงดูแบบ optimal bonding มากที่สุด (ร้อยละ 33.3) นักเรียนที่ไม่เป็นที่นิยมได้รับการเลี้ยงดูแบบ affectionless control มากที่สุด (ร้อยละ 40.3) นอกจากนี้ยังพบว่าเพศและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสัมพันธ์กับสถานะทางมิติสังคมด้วย (p = 0.002 และ p < 0.001 ตามลำดับ)This cross-sectional descriptive study aimed at examining the correlation of gender, academic achievement, self-esteem, depression and parenting styles, with sociometric status among middle school students. The sample included 542 male students and 673 female students who were studying at Matthayom 2 and Matthayom 3 in 6 schools in Bangkok. The data collection was done by questionnaire. The sample's average age was 14.1 years (S.D. = 0.75). The findings showed that the admired and high perceived popularity students achieved higher scores in Rosenberg Self-Esteem Scale (Thai version) than the rejected and low perceived popularity students at a statistically significant level (30.2 ? 3.3 vs. 27.9 ? 4.5, p < .001). The sample achieved low scores in Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D) (Thai version) at a statistically significant level (16.1 ? 7.4 vs. 19.0 ? 9.9, p < .05). Either high perceived popularity or low perceived popularity students had been reared differently at a significance level, as assessed by Parental Bonding Instrument (PBI) (Thai version) (p < .05). Most high perceived popularity students had been reared by the optimal bonding style (33.3%), while most low perceived popularity students had been reared by the affectionless control style (40.3%). The finding also showed that gender and academic achievement were correlated with the sociometric status (p = .002 and p < .001, respectively).ก-ฐ, 185 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้านักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- ไทย -- กรุงเทพฯความนับถือตนเองในวัยรุ่นความซึมเศร้า -- ในวัยรุ่นปัจจัยที่สัมพันธ์กับสถานะทางมิติสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นFactor associated with sociometric status among middle school studentsMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล