Kusol SoonthorndhadaYothin SawangdeeChalermpol ChamchanAnlaya Smuseneeto2023-09-052023-09-05201120112023Thesis (Ph.D. (Demography))--Mahidol University, 2011https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89332วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้มีสามส่วนได้แก่ 1) สืบค้นระดับของความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทยโดยการสร้างดัชนีชี้วัดด้วยวิธีดัชนีองค์ประกอบทั้งในปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2550 ; 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งสองปี (พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2550) จำแนกตามปัจจัยทางประชากรและสังคม ปัจจัยด้านสุขภาพ และปัจจัยด้านครอบครัว และ 3) ตรวจสอบตัวกำหนดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุทั้งสองปี (พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2550) โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2550 ผลการศึกษาพบว่า แหล่งเกื้อหนุนรายได้เป็นดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุทั้งสองปี และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังคงมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งสองปี แม้ว่าความมั่นคงทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2550 จะมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2545 อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่าปัจจัยด้านประชากรและสังคม ปัจจัยด้านสุขภาพและปัจจัยด้านครอบครัวของผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุทั้งในปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2550 ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุควรมีการเตรียมการก่อนเข้าสูวัยสูงอายุทั้งในด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลควรตระหนักถึงการสร้างนโยบายสำหรับผู้สูงอายุเพื่อผู้สูงอายุจะสามารถช่วยเหลือตนเอง และการสร้างนโยบายเพื่อเกื้อหนุนผู้สูงอายุที่กำลังเผชิญกับความเปราะบางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องxi, 139 leaves : ill.application/pdfengElderlyAgedEconomic securityQuality of LifeOlder people -- Thailand -- Economic conditionsSocial security -- ThailandEconomic security among the Thai elderly in 2002 and 2007 : changes and determinantsความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2550 : การเปลี่ยนแปลงและตัวกำหนดMahidol University