อัสนีย์ เหมกระศรีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์2022-07-132022-07-132565-07-132561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72116ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 84การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มี ต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการชีววิทยา ด้านการใช้สื่อบทเรียน ออนไลน์ ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนบทเรียนออนไลน์ และด้านพฤติกรรมการ เรียนบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา SCBI102 ปฏิบัติการชีววิทยา 1, รายวิชา SCBI 115 พื้นฐานแห่งชีวิต และรายวิชา SCBI 117 หลักมูลแห่ง ชีวิต ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 จำนวน 1,164 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนบทเรียนออนไลน์บท ปฏิบัติการชีววิทยา มีความพึงพอใจด้านสื่อบทเรียนออนไลน์โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน คือ ส่วนบทเรียนออนไลน์, ส่วนเนื้อหา, ส่วนแบบทดสอบ และส่วนภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการชีววิทยา มีความพึงพอใจด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนบทเรียนออนไลน์ในระดับมาก 3) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ลงทะเบียนเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการ ชีววิทยามีพฤติกรรมในการเรียนรู้ในระดับมาก แนวทางการพัฒนา นักศึกษามี ระดับความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน นักศึกษาบางส่วนไม่สามารถบรรลุ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในเวลาที่กำหนด ควรกระตุ้นให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้า ทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมตามความสนใจเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียนไปแล้ว เพื่อ ทำให้เกิดการพัฒนาความรู้อยู่เสมอ และควรเพิ่มการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อาจารย์และนักศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นthaมหาวิทยาลัยมหิดลบทเรียนออนไลน์ความพึงพอใจบทปฏิบัติการชีววิทยาMahidol Quality Fairความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล