บัญญัติ ยงย่วนจิระพันธ์ เดมะอินทิรา หิรัญสายมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 12016-02-252017-08-312016-02-252017-08-312559-02-252553-09วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 16, ฉบับที่ 5(2553), 742-758.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/7763การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครูในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครู ตามตัวแปร เพศ ศาสนา ระดับ การศึกษา สังกัดของโรงเรียน และภูมิลำเนา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจในวัฒนธรรมกับการ ยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 792 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม และแบบวัดความเข้าใจในวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ครูไทยมุสลิมยอมรับ ความหลากหลายวัฒนธรรมด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต และรวมทุกด้าน อยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง ขณะที่ครูไทยพุทธยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต และรวมทุกด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง แต่การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมด้านภาษา อยู่ในระดับ ปานกลาง ครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความแตกต่างกันด้านเพศ ศาสนา ระดับการศึกษา สังกัดของ โรงเรียน และภูมิลำเนา มีการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า ความเข้าใจในวัฒนธรรมของครู ด้านชาติพันธุ์ ด้านภาษา ด้านขนบประเพณี ด้านวิถีชีวิต และความเข้าใจใน วัฒนธรรมโดยรวม มีความสัมพันธ์กับ การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมในทิศทางบวกthaมหาวิทยาลัยมหิดลการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมความเข้าใจในวัฒนธรรมครูระดับประถมศึกษาประเทศไทยcultural understandingprimary school teachersrespect for cultural diversityThailandการสำรวจการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยResearch Articleมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์