ภัทริกา ปัญญาPattarika Panyaจงจิต เสน่หาChongjit Sanehaวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชWimolrat Puwarawuttipanitนพดล โสภารัตนาไพศาลNopadol Soparattanapaisarnมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2018-08-172018-08-172561-08-172559วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 34 , ฉบับที่ 1 ( ม.ค. - มี.ค . 2559), 66-76https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/22812วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ ระยะโรค อาการอ่อนล้า ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าต่อภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัย: การหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดลพบุรี จำนวน 100 ราย โดยการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบสะดวก (convenience sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพการรักษา แบบประเมินอาการอ่อนล้า ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเดียว (enter method) ผลการวิจัย: ระยะโรค อาการอ่อนล้า ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าสามารถร่วมกันอธิบายความฝันแปรของ ภาวะโภชนาการในกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 69.1 (R2 = .691, p < .05) โดยอาการอ่อนล้า (β = - .388, p = .000) ความวิตกกังวล (β = - .325, p = .001) และอาการซึมเศร้า (β = - .225, p = .033) เท่านั้นที่สามารถทำนายภาวะโภชนาการของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินอาการอ่อนล้า ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับยาเคมีบำบัด และให้การพยาบาลในการป้องกัน แก้ไข และบรรเทากลุ่มอาการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่รับยาเคมีบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นPurpose: To study the influences of stage of disease, fatigue, anxiety and depression on nutritional status of colorectal cancer patients receiving chemotherapy. Design: A correlational predictive design. Method: The sample composed of 100 colorectal cancer patients receiving chemotherapy at two tertiary hospitals in Bangkok and Lopburi Province. Data were collected by using a demographic data questionnaire, health and treatment data record, Piper Fatigue Scale-12, Hospital Anxiety and Depression Scale, and Mini Nutrition Assessment. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regressions. Main findings: Stage of disease, fatigue, anxiety and depression could explain 69.1 percent of the variance in nutritional status in colorectal cancer patients receiving chemotherapy (R2 = .691, p < .05). Moreover, fatigue (β = - .388, p = .000), anxiety (β = - .325, p = .001) and depression (β = - .225, p = .033) were statistically significant predictors of nutritional status in colorectal cancer patients. Conclusion and recommendation: Nurses should evaluate fatigue, anxiety and depression in all colorectal cancer patients receiving chemotherapy and provide nursing intervention to prevent and alleviate the aforementioned symptoms in order to promote good and more effectively nutritional status in colorectal cancer patients receiving chemotherapy.thaมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะโภชนาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับยาเคมีบำบัดอาการอ่อนล้าความวิตกกังวลอาการซึมเศร้าวารสารพยาบาลศาสตร์Open Access articleJournal of Nursing Scienceปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่ได้รับยาเคมีบำบัดFactors Influencing on Nutritional Status in Patients with Colorectal Cancer Receiving ChemotherapyArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล