ณีรนุช สินธุวานนท์อรณิช ตั้งนิรามัย2025-04-242025-04-242568-04-242565https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109730โรคอัมพาตใบหน้า (Facial paralysis) หรือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (cranial nerve 7) ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง โดยส่วนมากผู้ป่วยมักอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง และร้อยละ 0.3 เกิดการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งสองข้าง ในปัจจุบันมีอัตราการเกิดโรคประมาณ 11-40 ต่อ 100,000 คนในประชากรทั่วโลก และพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-39 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ผู้ที่มีภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะครรภ์เป็นพิษและหญิงตั้งครรภ์ปกติ สาเหตุอาจเกิดได้หลายประการ เช่น เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่แตกตีบตัน มีเนื้องอกกดเบียดในเนื้อสมอง อุบัติเหตุจากศีรษะกระแทก ซึ่งเป็นการบาดเจ็บของสมองส่วนบน (Upper motor neuron) ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งมาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่างด้านตรงข้ามกับสมองที่มีความผิดปกติได้ หรือการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 80.00-90.00 โดยกลุ่มเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยคือกลุ่ม Herpes simplex หรือในบางรายไม่ทราบสาเหตุ มักพบพยาธิสภาพที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Lower motor neuron) ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงใบหน้าครึ่งซีกด้านเดียวกัน โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยักคิ้วขึ้นได้ เปลือกตาปิดไม่สนิท ในบางรายเกิดน้ำตาไหลตลอดเวลาจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตาติดเชื้อได้ บริเวณมุมปากและแก้มตกหรือเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ไม่สามารถยิ้มได้ ผู้ป่วยมักเกิดความยากลำบากในการแสดงสีหน้าอารมณ์ การสื่อสาร การบดเคี้ยวอาหาร และอาจมีการรับรู้รสชาติอาหารผิดปกติไป ถึงแม้ความผิดปกติที่เกิดจะไม่มีผลอันตรายต่อชีวิต แต่มักส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยมักมีภาวะเครียด มีความกังวลใจขณะแสดงสีหน้า อารมณ์ทางใบหน้าเกิดความไม่มั่นใจ ส่งผลให้หลีกหนีการเข้าหาสังคม การรักษาทางกายภาพบำบัดหนึ่งในสหวิชาชีพที่มีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดมีหลากหลายวิธีเช่น การประคบอุ่น การกระตุ้นไฟฟ้า การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้าเพื่อคงความสามารถในการใช้งานของกล้ามเนื้อใบหน้าและชะลอการฝ่อลีบ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย จากสถิติการให้บริการผู้ป่วยนอกของคลินิกกายภาพระบบประสาท ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีจำนวนมากเป็นอันดับสาม รองจากผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อแขนขาครึ่งซีก และผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ตามลำดับ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากรูปแบบการดำเนินชีวิต การบริโภค การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ความรุนแรงจากเชื้อโรคในปัจจุบัน รวมถึงภาวะความเครียดและการพักผ่อนที่น้อยลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง จนไม่สามารถจัดการกับเชื้อโรคที่แฝงอยู่ในร่างกายได้ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อให้นักกายภาพบำบัดหรือบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย64 หน้า, Full Text (Intranet only)application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้ากายภาพบำบัดผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้ากล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้ากล้ามเนื้ออ่อนแรงนักกายภาพบำบัดคู่มือปฏิบัติงานผลงานการขอเลื่อนตำแหน่งผลงานบุคลากรสายสนับสนุนคู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าWork Manualศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล