นัทธี เชียงชะนาอำไพ บูรณประพฤกษ์วทัญญู จิตติเสถียรพร2024-01-052024-01-05256025602567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91834ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อการฟื้นฟูการพูดในคนหูตึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองแบบการวัดซ้ำ ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมทดลองจำนวน 9 คน โดยเข้าร่วมการทดลองกิจกรรมดนตรีบำบัดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จำนวนทั้งหมด 10 ครั้ง กิจกรรมดนตรีบำบัดประกอบไปด้วย การฝึกโสตประสาท การวอร์มเสียง และการร้องเพลง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ คู่มือทดสอบการพูดของคนหูตึง แบ่งเป็น ชุดภาพประกอบการออกเสียง และแบบประเมินการพูด ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตพฤติกรรม การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-Measures ANOVA) สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย พบว่า ค่าเฉลี่ยการทดสอบหลังการให้ดนตรีบำบัดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 3 ด้าน คือ การเปล่งเสียงได้ชัดเจน การเปล่งเสียงดัง-เบา และการเปล่งเสียงพูดในแต่ละคำ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) การร้องเพลงร่วมกับรูปแบบจังหวะที่ชัดเจนทาให้เปล่งเสียงได้ดังขึ้น 2) การร้องเพลงร่วมกับสัญญาณมือทำให้เปล่งเสียงมีระดับสูง-ต่ำ มากขึ้น 3) การร้องเพลงในจังหวะช้าทำให้เปล่งเสียงได้ชัดเจนขึ้น และ 4) การร้องเพลงแบบโต้ตอบร่วมกับองค์ประกอบของดนตรีที่ไม่ซับซ้อน และมีการย้ำซ้ำทวน สามารถส่งเสริมการฝึกพูดได้อย่างสนุกสนานและไม่น่าเบื่อThe purpose of this study was to investigate the effectiveness of music therapy on speech rehabilitation in hard of hearing young adults. Repeated-measures experimental and qualitative research designs were employed to examine the experiment before, during, and after receiving music therapy by collecting the data from 9 participants with 10 sessions, twice a week. Music interventions included aural training, vocal warm up, and singing activities. Hard of Hearing' Speech Test Manual, Interview, and Observational Protocols were used to collect and measure the data. For data analysis, Repeated-measures ANOVA was used to compare the quantitative data, and inductive analysis was used to analyze qualitative data. Results revealed that average scores of posttests after receiving music interventions were statistically higher than pre and mid test at .05 in 3 indicators: Vocalizations are of clear tonal quality Vocalizations are of appropriate volume and Verbalizes single words. The qualitative results showed that: 1) singing with clear rhythm could enhance speaking louder 2) singing with hand signs could support intonation of vocal production 3) singing in slow tempo could increase vocal production clearly and 4) singing call-response song by using easy music elements and repetition could enhance speech rehabilitation joyfullyก-ฒ, 186 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าดนตรีบำบัดผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน -- การรักษาการพูดการศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่มีต่อการฟื้นฟูการพูดในคนหูตึง วัยผู้ใหญ่ตอนต้นInvestigating the effect of music therapy on speech rehabilitation in hard of hearing young adultsMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิลด