ภัทร์ พลอยแหวนสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญกฤษณ์ รักชาติเจริญนวนิษฐ์ ศีลธรวิสุทธิ์2024-01-052024-01-05256225622567วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91943นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการด้านรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยด้านองค์การและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการให้บริการ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการด้านรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง การวิจัยเรื่องนี้ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้มารับบริการศูนย์บริการด้านรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 377 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการด้านรังสีวิทยาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ ความรู้ความชำนาญและทักษะของบุคลากร ด้านมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านบุคลากรที่ปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจากการสัมภาษณ์พบว่าปัจจัยทางด้านบุคลากรถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะนำมาพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทั้งทางด้านทักษะ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา อบรมบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานก็ถือเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญไปพร้อม ๆ กัน เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อความรวดเร็ว ถูกต้องปลอดภัยของการให้บริการ ซึ่งนำไปสู่ความประทับใจและความเชื่อมั่นที่ผู้รับบริการมีต่อองค์กรThe objectives of this study were 1) to study policy and administration, organization and service quality of a radiology service center in a public autonomous university, 2) to compare the differences between the demographic factors of service recipients that affected their perception on service quality, and 3) to study the factors influencing service quality at the radiology center of the public autonomous university hospital. This study applied a mixed methods design. The quantitative portion of the research included 377 subjects who sought services at the radiology service center of the public autonomous university hospital. Questionnaires were the instruments used for data collection, and frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA and multiple-regression coefficient statistics were used in data analysis. For the qualitative part of the research, data were collected using interviews with three qualified experts. According to the findings, the factors influencing service quality at the radiology center of an autonomous university hospital with statistical significance at 0.05 were organization, personnel skills and expertise, specialist physicians, staff, use of information technology in service provision and work environment. In addition, the interviews revealed that demographic factors including skills, expertise or experience were greatly important to service quality improvement. Therefore, it was necessary to continuously develop and train personnel. Moreover, use of technologies and the work environment should be given equal importance because they contribute to speed, accuracy and safety in service, leading to good impressions and confidence in service recipients about the organization.ก-ฎ, 155 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าบริการทางการแพทย์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการด้านรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งFactors influencing service quality of a radiology service center in a public autonomous universityMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล