จรรยา เศรษฐบุตรวรชัย ทองไทย2011-06-102020-02-182011-06-102020-02-1820112550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52447วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อบรรยายแบบแผนการสูบบุหรี่และอิทธิพลของ ปัจจัยทางประชากรและเศรษฐกิจ (2) เพื่อค้นหาอิทธิพลของครัวเรือนต่อการสูบบุหรี่ (3) เพื่อ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่กับสภาวะสุขภาพ (4) เพื่อพรรณนาพฤติกรรมสูบบุหรี่ของ วัยรุ่น (5) เพื่ออธิบายสถานการณ์การรับควันบุหรี่มือสอง และ (6) เพื่อระบุแรงจูงใจที่ทำให้เลิก สูบบุหรี่หรือไม่สูบบุหรี่เลย ข้อมูลที่วิเคราะห์มาจากการระบบเฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี (KDSS) ดำเนินงานโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พื้นที่เฝ้าระวังฯ ครอบคลุมหมู่บ้านและชุมรุม อาคาร 100 แห่ง ทั้งในเขตเมืองและชนบท ในปี พ.ศ. 2547 มีครัวเรือน 12,462 ครัวเรือนและ ประชากร 42,938 คน ผลการวิเคราะห์พบว่า ประชากรชายในพื้นที่ศึกษาสูบบุหรี่มากกว่าประชากรหญิง ถึง 5 เท่า ส่งผลให้ประชากรหญิงประมาณครึ่งหนึ่งและเด็กที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกับผู้สูบ บุหรี่ถึงร้อยละ 60 กลายเป็นผู้สูบบุหรี่มือสองหรือเป็นผู้รับควันบุหรี่ และเด็กที่อายุน้อยกว่ามี โอกาสรับควันบุหรี่มากกว่าเด็กอายุมากกว่าด้วย เมื่อพิจารณาด้านฐานะทางเศรษฐกิจ พบว่าผู้ ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำกว่า มีแนวโน้มเป็นผู้รับควันบุหรี่มากกว่าผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงกว่า ในกลุ่มประชากรวัยรุ่น (อายุ 15 - 24 ปี) ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่มี แนวโน้มที่จะสูบบุหรี่มากกว่าวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนปลอดบุหรี่ วัยรุ่นที่มีการศึกษาน้อยกว่ามี แนวโน้มสูบบุหรี่มากกว่าวัยรุ่นที่มีการศึกษาสูงกว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลทำให้ สูบบุหรี่มากขึ้น ผลการศึกษายังพบอีกว่า คนส่วนใหญ่ไม่สนใจต่อผลร้ายแก่สุขภาพของตนเอง จากการสูบบุหรี่และบริโภคสิ่งไม่ดี แต่มักจะเลิกสูบบุหรี่ได้ ก็ต่อเมื่อตนเองมีปัญหาด้านสุขภาพSmokers, Adolescent Smokers, and Secondhand Smokers in Kanchanaburi Demographic Surveillance System Chanya Sethaput/Varachai Thongthai Using data from Kanchanaburi Demographic Surveillance System (KDSS), the study aims to (1) describe the pattern of smoking and the influence of demographic and economic factors; (2) find out the familial influences on smoking; (3) analyse the association between smoking and health status; (4) illustrate smoking behaviour of the adolescents; (5) explain the situation of secondhand smoke; and (6) indicate the motivation to quit smoking and to omit smoking. The KDSS maintains by the Institute for Population and Social Research. The area covers 100 villages/census blocks in both urban and rural areas. There are 12,462 households with 42,938 population in 2004. The findings reveal that 56 percent of all study households, at least one household member is currently smoking. Among current smokers, the ratio of male smokers to female smokers is 5 to 1. Therefore, secondhand smokers consist of 50 percent of women and 60 percent of children. The younger children are more risky than the older ones. It is also found that persons in lower economic status household tend to receive secondhand smoke more than persons in higher status household. For adolescents, more male adolescents are smokers than female ones. The adolescents who live in the smoking households tend to be smoker than the adolescents who stay in smoke free households. The less educated adolescents tend to smoke more than the more educated one. Moreover, the more the adolescents consume alcohol, the more they smoke. It is also found that most people do not pay so much attention to their health that they consume tobacco and toxic goods. And people tend to quit smoking when they face health problems.thaมหาวิทยาลัยมหิดลวัยรุ่นกับการสูบบุหรี่ผู้สูบบุหรี่ผู้รับควันบุหรี่รายงานวิจัยผู้สูบบุหรี่ วัยรุ่นสูบบุหรี่ และผู้รับควันบุหรี่ในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรีResearch Report