นันทิยา ดวงภุมเมศสิรินทร พิบูลภานุวัธน์ธีรพงษ์ บุญรักษาปรีชยา เกิดผลเสริฐ2024-01-052024-01-05256225622567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91920ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)การวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้โดยสารกับการเลือกเปิดรับการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบิน" มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาความตระหนักด้านความปลอดภัย ทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเนื้อหาการสาธิต ประสบการณ์ในการโดยสารเครื่องบิน และการเลือกเปิดรับสารของผู้โดยสารต่อการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินของสายการบินไทยสมายล์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักด้านความปลอดภัย ทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (ทักษะการสื่อสาร) และทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อเนื้อหาการสาธิต กับการเลือกเปิดรับสารจากการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินของผู้โดยสารสายการบินไทยสมายล์ 3) เปรียบเทียบระดับการเลือกเปิดรับสารของผู้โดยสารที่มีลักษณะทางประชากร (เพศ และเชื้อชาติ) แตกต่างกัน และ 4) เปรียบเทียบระดับการเลือกเปิดรับสารของผู้โดยสารที่มีประสบการณ์ในการโดยสารเครื่องบิน (ความถี่ในการบิน และ ประสบการณ์อุบัติเหตุทางการบิน) แตกต่างกัน โดยวิเคราะห์ภายใต้กรอบแนวคิดกระบวนการเลือกเปิดรับสาร หรือ Selective Process (Klapper, 1960) ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างผู้โดยสารของสายการบินไทยสมายล์ 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ t-test, One-Way ANOVA และ Pearson's Product Moment Correlation Coefficient ทดสอบสมมติฐาน และใช้ LSD (Least Significant Difference) เปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักด้านความปลอดภัยในการบิน มีทัศนคติต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และมีทัศนคติต่อสาร (ข้อความการสาธิต) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.79, 4.53, 4.61 ตามลำดับ) โดยมีการเลือกเปิดรับ เลือกสนใจ เลือกตีความ และเลือกจดจำการสาธิตโดยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.45, 4.49, 4.75 และ 4.42 ตามลำดับ) สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าความตระหนักด้านความปลอดภัยในการบินมีความสัมพันธ์กับการเลือกเปิดรับสารจากสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินของผู้โดยสาร (ทั้งด้านการเลือกรับ การเลือกให้ความสนใจ การเลือกตีความ และการเลือกจดจำการสาธิต) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ทัศนคติต่อผู้ส่งสาร (ทักษะการสื่อสาร) มีความสัมพันธ์กับการเลือกเปิดรับสารจากการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินของผู้โดยสาร (ทั้งด้านการเลือกรับ การเลือกให้ความสนใจ การเลือกตีความ และการเลือกจดจำการสาธิต) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ทัศนคติต่อสาร (เนื้อหาการสาธิต) มีความสัมพันธ์กับการเลือกเปิดรับสารจากการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินของผู้โดยสาร (ทั้งด้านการเลือกรับ การเลือกให้ความสนใจ การเลือกตีความ และการเลือกจดจำการสาธิต) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผู้โดยสารที่มีเพศ แตกต่างกัน มีการเลือกให้ความสนใจและการเลือกจดจำการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินแตกต่างกัน แต่ด้านการเลือกรับ และการเลือกตีความการสาธิต ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผู้โดยสารที่มีเชื้อชาติ แตกต่างกัน มีการเลือกรับและการเลือกให้ความสนใจสารจากการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินแตกต่าง แต่ด้านการเลือกตีความ และการเลือกจดจำการสาธิตไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผู้โดยสารที่มีประสบการณ์ในการโดยสารเครื่องบินอันได้แก่ ความถี่ในการบิน และประสบการณ์อุบัติเหตุทางการบินแตกต่างกัน มีการเลือกเปิดรับสารจากการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินแตกต่างกัน (ทั้งด้านการเลือกรับ การเลือกให้ความสนใจ การ เลือกตีความ และการเลือกจดจำการสาธิต) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสาร หากสายการบินต่างๆ ทราบถึงวิธีพัฒนาการสาธิตการใช้อุกรณ์นิรภัยบนเครื่องบิน ผู้โดยสารจะทราบถึงวิธีการใช้อุปกรณ์นิรภัยต่างๆบนเครื่องบิน ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถดูแลตนเองหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้The research aimed to 1) study passengers' safety awareness, their attitude toward flight attendants and demonstration content, their flight experience, and their selective exposure of THAI Smile's flight safety demonstration; 2) study correlation between passengers' safety awareness, their attitude toward flight attendants (communication skills), attitude toward demonstration content and selective exposure of Thai Smile's flight safety demonstration; 3) compare passengers' selective exposure level based on different demographic characteristics (gender and nationality); and 4) compare selective exposure level of passengers who had different flight experiences (flight frequency and experience in aviation accidents). The research framework utilized Selective Process (Klapper, 1960). The research employed a quantitative research methodology using questionnaire to collect data from 384 passengers of Thai Smile. The data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics including t-test, One-Way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient to test the hypotheses. It also used LSD (Least Significant Difference) to compare mean. The study found that 1) the awareness of sample group of the flight safety having attitude toward flight attendants and message (demonstration content) was at the highest level (x = 4.79, 4.53, and 4.61 respectively). Their selective exposure, selective interest, selective interpretation, and selective retention on the safety demonstration were at the highest level (x = 4.45, 4.49, 4.75 and 4.42 respectively). The hypothesis test resulted as follows: Awareness on flight safety, attitude toward sender (communication skills), and attitude toward message (demonstration content) were correlated to selective exposure process of flight safety demonstration (including selective exposure, selective interest, selective interpretation, and selective retention on safety demonstration) with the statistical significance of 0.01; Moreover, passengers of different genders had a different level of selective interest and selective retention of flight safety demonstration, while level of selective exposure and selective interpretation on flight safety demonstration were not different, with the statistical significance of 0.05; Furthermore, passengers of different nationalities had a different level of selective exposure and selective interest of flight safety demonstration, while selective interpretation and selective retention on flight safety demonstration were not different, with the statistical significance of 0.05; Finally, passengers of different flight frequency and experience of aviation accidents had a different level of selective exposure process (including selective exposure, selective interest, selective interpretation, and selective retention on safety demonstration) with the statistical significance of 0.01. This thesis benefits to passengers. If airlines realize how is improving their flight safety demonstration, passengers will understand how to use emergency equipment in the aircraft and vigilant when facing with accident. Communication between flight crew, cabin crew and air traffic control must be taken into consideration in the next study because communication is related to flight safety. If there is effective and efficient communication, it may reduce flight accident.ก-ญ, 139 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าเครื่องบิน -- มาตรการความปลอดภัยผู้โดยสารเครื่องบิน -- ทัศนคติความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้โดยสารกับการเลือดเปิดรับการสาธิตการใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบินRelationship between passengers's attitude and and selective exposure of flight safety demonstrationMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล