ตรีพร กำลังเกื้อชนินันท์ โฆษิตกุลจรกนกพร สุขโตThreebhorn KamlungkueaChaninan KositkuljornKanokporn Sukhatoมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว2022-09-122022-09-122565-09-122561รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 41, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 48-570125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79502บทนำ: กิจกรรมการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ (Ward rounds) เป็นกิจกรรมสำคัญในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มุ่งเน้นการฝึกทักษะการดูแลรักษาผู้ป่วยให้กับนักศึกษาแพทย์ผ่านการถ่ายทอดโดยอาจารย์และแพทย์ประจำบ้าน แต่ปัจจุบันการศึกษาวิจัยที่แสดงถึงทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตยังมีค่อนข้างน้อย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการจัดการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ รวมทั้งศึกษาปัจจัยส่งเสริมและขัดขวางที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มในเดือนมกราคม - เมษายน พ.ศ. 2558 จากนั้นถอดการบันทึกเสียงและใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Thematic content analysis ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาแพทย์ จำนวน 31 คน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการเรียนการสอนวอร์ดราวน์มีความสำคัญและจำเป็น แต่ปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาแพทย์ จากความคิดเห็นทั้งหมดของนักศึกษาแพทย์สามารถแบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยจากอาจารย์แพทย์และแพทย์ประจำบ้าน (ผู้นำราวน์) 2) ปัจจัยจากตัวนักศึกษาแพทย์เอง และ 3) ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนวอร์ดราวน์จากมุมมองนักศึกษาแพทย์ สรุป: นักศึกษาแพทย์มีความคิดเห็นว่าวอร์ดราวน์เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความสำคัญ และเข้าใจว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้จากกิจกรรมนี้ ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์จึงควรจัดการวอร์ดราวน์ให้เกิดการดูแลรักษาคนไข้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับก่อให้เกิดประโยชน์จากการเรียนรู้สูงสุดแก่นักศึกษาแพทย์Background: Ward rounds are widely regarded as an essential part of undergraduate medical training by presenting students with various tasks and roles they will need as future doctors. However, very few studies have examined this subject from the perspective of the medical students. Objective: To explore medical students’ perceptions of ward rounds and examine perceived barriers to learning and review possible strategies to increase the effectiveness of this approach. Methods: The fourth-year medical students (n = 30) at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University attended five focus groups. Discussions were audio-taped, transcribed and analyzed using qualitative methods. Results: The fourth-year medical students viewed ward rounds as being important for their learning and future practice. Wide variations in student experience were reported but ward rounds were felt to be under-utilized. Factors enhancing or obstructing student learning from ward rounds were categorized into three groups (instructor, environment, student) and administrative strategies were identified that could increase the effectiveness of this component of the curriculum. Conclusions: The medical students viewed ward rounds as occupying an important place in the undergraduate medical curriculum and understood that there were many factors affecting the effectiveness of learning from this exercise. While having to balance education with patient care, the Faculty of Medicine should consider management changes to maximize the benefits to students from attending ward rounds.thaมหาวิทยาลัยมหิดลวอร์ดราวน์นักศึกษาแพทย์การศึกษาเชิงคุณภาพWard roundUndergraduate medical studentsQualitative studyทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการจัดการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตMedical Students’ Perceptions of Ward Rounds in the Undergraduate Medical Curriculum Article SidebarOriginal Articleภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล