จงจิตร หงษ์เจริญบัณฑิต พวงมาลัยอุไรพร ศิริเทพเสาวภา อินผาพัชรี บุตรแสนโคตรปภัสสรา มุกดาประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-082021-09-082562-09-082561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63467ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 218หนึ่งในจุดเน้นพัฒนาคุณภาพของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลคือ Preventing Pressure Injury (การป้องกันแผลกดทับ) แผลกดทับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอย่างมาก งานการพยาบาลศัลยศาสตร์ฯ เป็นหน่วยงานที่ใหญ่ หอผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวเนื่องจากสภาวะความเจ็บป่วยที่รุนแรง อัตราการเกิดแผลกดทับประจำปี2559 ของงานการพยาบาลศัลยศาสตร์ฯ เท่ากับ 2.03 คน ต่อ 1,000 วันนอนซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย จากการวิเคราะห์พบว่า มีปัจจัยและสาเหตุการเกิดแผลกดทับที่คล้ายคลึงกัน คือ บุคลากรไม่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ บุคลากรขาดองค์ความรู้ในเรื่องการเก็บข้อมูล การใช้วัสดุ อุปกรณ์และขาดทักษะในการประเมินแผลกดทับ โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยใช้สื่อสารสนเทศและ KM ส่งผลให้อัตราความชุกและอัตราการเกิดแผลกดทับลดลง ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนสามารถนำองค์ ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดในหน่วยงาน และมีความพึงพอใจthaมหาวิทยาลัยมหิดลPressure injury preventionการป้องกันแผลกดทับการพยาบาลศัลยศาสตร์ฯการดูแลผู้ป่วยโครงการ PrIP (Pressure Injury Prevention)Proceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล