นิภาวรรณ วงษ์ใหญ่Niphawan Wongyaiมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. งานวิจัยและวิชาการ2020-06-052020-06-052563-06-052562วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 6, (ส.ค. 2562), 69-74https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56379การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือเพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย สถานประกอบการด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มากำหนดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีทั้งหมด 74 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานภาครัฐ 20 หน่วยงาน และหน่วยงานภาคเอกชน 54 หน่วยงาน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด (4.36) รองลงมาคือ ด้านทำเลที่ตั้งอยู่ในระดับมากที่สุด (4.27) ด้านราคาอยู่ในระดับมาก (4.08) และด้านส่งเสริมการขายอยู่ในระดับมาก (3.99) ตามลำดับ (2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรูปแบบสถานประกอบการที่ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่ช่วงอายุมีความคิดเห็นแตกต่างกันที่ด้านส่งเสริมการขาย (3) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ คือ ควรมีการกำหนดรูปแบบและระยะเวลาจัดที่ชัดเจน วิทยากรที่บรรยายควรมีความเชี่ยวชาญชำนาญ สถานที่จัดควรมีช่องทางการเดินทางที่หลากหลาย สะอาด และปลอดภัย ควรมีการประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงและควรมีการส่งเสริมการขายเป็นส่วนลดกรณีสมัครล่วงหน้าและมีการสมัครจำนวนมากในหน่วยงานเดียวกันThis research aimed to 1) study the level of marketing factors affecting decision making on workshop attendance, 2) compare the marketing factors affecting decision making on workshop attendance classified by personal factors, and 3) study developmental guidelines on the marketing factors affecting decision making on workshop attendance. The research sample groups being health business operators and stakeholders on sport science in Bangkok Metropolitan Region consisted of 74 agencies divided into 20 state agencies and 54 private agencies. The questionnaires were the research tool. The research results showed the followings: 1) The marketing factors were at a high level. Product was at the highest level (4.36). Location was at the highest level (4.27). Price was at a high level (4.08). Sale promotion was at a high level (3.99). 2) According to comparison of the marketing factors, the researcher found that different genders, education, work duration, and workplace model did not cause different opinions. Age caused different opinions on sale promotion. 3) The developmental guidelines on the marketing factors affecting decision making on workshop attendance were as follows: The organizing model and duration should be clearly determined. Lecturers should have expertise. The organizing place should be clean and safe and have several travelling channels. Related agencies should directly disseminate the information to the target groups and give a discount if people enrolled on the workshop in advance and a lot of people in the same agency enrolled on the workshopthaมหาวิทยาลัยมหิดลปัจจัยทางการตลาดการตัดสินใจประชุมเชิงปฏิบัติการMarketing FactorsDecision MakingWorkshopJournal of Professional Routine to Researchการศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการMarketing Factors Contributing to Decision Making on Workshops AttendancesResearch Articleคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล