วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์จริยา ทะรักษาจิราพร วงษ์สุวรรณ2024-01-222024-01-22255825672558วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93390การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการได้แก่ อายุ อาการ นอนหลับแปรปรวน อาการคลื่นไส้อาเจียน และระดับฮีมาโตคริต กับอาการอ่อนล้าในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งอายุระหว่าง 7-15 ปี ที่ได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 66 ราย ที่มารับการรักษาในแผนกกุมารเวชศาสตร์โรงพยาบาลระดับตติยภูมิของรัฐ จำนวน 3 แห่ง การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการนอนหลับแปรปรวน แบบประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียน และแบบประเมินอาการอ่อนล้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าอายุ และระดับฮีมาโตคริตไม่มีความสัมพันธ์กับอาการ อ่อนล้า (p > .05) ในขณะที่อาการนอนหลับแปรปรวนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการอ่อนล้า (r = .609, p = .000) และอาการคลื่นไส้อาเจียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการอ่อนล้า (r = .400, p = .001) ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะพยาบาล จึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนการจัดกิจกรรมการพยาบาลเพื่อจัดการกับอาการนอนหลับแปรปรวน และอาการคลื่นไส้อาเจียน ในการบรรเทาอาการอ่อนล้าที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็ก ตลอดจนให้คำแนะนำครอบครัวเกี่ยวกับอาการอ่อนล้าปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอ่อนล้า และการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่เกิดขึ้น เพื่อให้ครอบครัวให้การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพThe purpose of this study was to examine the relationships between related factors: age, sleep disturbance, nausea/vomiting and hematocrit level and fatigue in 66 pediatric cancer patients, aged between 7-15 years, who received chemotherapy at Pediatric Department of three tertiary care government hospitals. The sampling technique used was convenience sampling. Data were collected using questionnaires: a demographic data form, sleep disturbance questionnaire, nausea/vomiting questionnaire and fatigue questionnaire. Data analyses used were descriptive statistics and Pearson's correlation coefficient. The study findings revealed that age and hematocrit level were not correlated with fatigue (p > .05). Sleep disturbance and nausea /vomiting were positively correlated with fatigue, r = .609, p = .000 and r = .400, p = .001, respectively. Therefore, healthcare providers, especially nurses, should recognize the importance of the nursing care plan for dealing with symptoms of sleep disturbance and nausea/vomiting in order to relieve fatigue of pediatric patients. Nurses should also advise families about fatigue, related factors, and strategies of dealing with fatigue in order to provide effective care for pediatric cancer patients receiving chemotherapy.ก-ฌ, 163 แผ่น : แผนภูมิapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าเคมีบำบัดมะเร็งในเด็ก -- การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด -- ผลไม่พึงประสงค์เนื้องอก -- เดมีบำบัด -- ภาวะแทรกซ้อนมะเร็ง -- การรักษาด้วยยาเนื้องอก -- การรักษาด้วยยาเนื้องอก -- เคมีบำบัดความเพลียความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับอาการอ่อนล้าในผู้ป่วยเด็กอายุ 7-15 ปี โรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดRelationships among related factors and fatigue in pediatric cancer patients aged 7-15 years receiving chemotherapyMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล