นลินรัตน์ ทองนิรันดร์กุลธิดา ศรีปักษาอารีรัตน์ บุตรเนียรศรินรัตน์ รัตนะNalinrat ThongniraKulthida SripaksaAreerat ButnianSarinrat Rattanaมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. งานการพยาบาลอายุรศาสตร์2022-08-232022-08-232565-01-232564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79458ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 89จุดประสงค์ เพื่อทดสอบความถูกต้องและความแม่นยำของแบบ ประเมินการกลืนข้างเตียงที่ดัดแปลงมาจากแบบประเมิน Standardized Swallowing Assessment (SSA) วิธีวิจัย ดัดแปลงแบบประเมิน SSA โดย ปรับปริมาณน้ำและเพิ่มการทดสอบด้วยอาหาร ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประเมินความถูกต้องเชิงเนื้อหา จากนั้นทดสอบกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองเฉียบพลันในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 100 คน ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2562 โดยพยาบาล วิชาชีพ 2 ท่านที่เป็นอิสระต่อกัน ประเมินความเที่ยงโดยCohen’s Kappa ติดตามผู้ป่วยที่มีผลการประเมินกลืนผ่าน ว่ามีภาวะปอดอักเสบติดเชื้อจาก การสำลักหรือไม่ หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 1 เดือน ผลการวิจัย แบบประเมินนี้มีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.798 ความ เที่ยงระหว่างผู้ทดสอบ 2 คนของแบบทดสอบทั้งหมดเท่ากับ 0.83 และความ เที่ยงของแต่ละข้อย่อยในแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.928 – 1.00 ผู้ป่วยเป็น ผู้ชายร้อยละ 62 อายุเฉลี่ย 63+15 ปี สมองขาดเลือดร้อยละ 74 เส้นเลือดใน สมองแตกร้อยละ 14 สมองขาดเลือดชั่วคราวร้อยละ 11 ผู้ป่วย 94 คนไม่พบ ความเสี่ยงต่อภาวะกลืนลำบาก และไม่พบภาวะปอดอักเสบติดเชื้อจากการ สำลักหลังจากติดตามการรักษาไป 1 เดือน สรุป แบบทดสอบนี้มีระดับความเชื่อมั่น 0.798 ความแม่นยำอยู่ใน เกณฑ์ดีมาก และมีประโยชน์ในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เฉียบพลันที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกลืนลำบาก นำมาใช้เป็นต้นแบบในการใช้ งานจริงในการประเมินการกลืนthaมหาวิทยาลัยมหิดลแบบประเมินการกลืนข้างเตียงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันภาวะกลืนลำบากMahidol Quality Fairการคัดกรองภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยพยาบาล ร.พ.รามาธิบดีProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล