จิราภรณ์ เติมลาภกัญญารัตน์ เชื้อหมอกัญญาณัช เคหะนาควรากรปราณี ไกรที่พึ่งมาริษา แดงสุภามหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-222021-09-222564-09-222561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63637ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 251ยาเคมีบำบัดมีบทบาทในการรักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เพราะยาเคมีบำบัดจะเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และในบางรายอาจจะต้องใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการผ่าตัด การฉายแสง หรือการใช้ฮอร์โมนร่วมในการรักษา ยาเคมีบำบัดจัดเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง (High alert drug) พยาบาลที่บริหารยาในกลุ่มนี้ ต้องมีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในการบริหารยาเป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับยาเคมีบำบัด เช่น ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ขณะรับยาเคมีบำบัด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยให้มากที่สุดในการรับยาเคมีบำบัดหน่วยงานให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่มารับยาเคมีบำบัด จาก สถิติในการรับผู้ป่วยใหม่เป็นผู้ป่วยใน จำนวน 8-14 ราย/วัน ผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัดเป็นกลุ่มของ ยากลุ่ม Taxans (Paclitaxel, Docetaxel), ยากลุ่มPlatinum (Oxaliplatin, Carboplatin, Cisplatin) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่จะพบภาวะ Hypersensitivity ได้ ในขณะรับยาเคมีบำบัด หน่วยงานเป็นหอผู้ป่วยพิเศษที่ผู้ป่วยต้องการความเป็นส่วนตัว เนื้อที่หอผู้ป่วยค่อนข้างกว้าง ลักษณะเป็นรูปตัวยู ห้องพักผู้ป่วยจะมีความใกล้ไกลกับเคาน์เตอร์พยาบาลแตกต่างกัน บุคลากรทุกคนในหน่วยงานได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่สำคัญนี้จึงนำมาสู่ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยพิเศษ ตั้งแต่กระบวนการดูแล ระบบการทำงาน ระบบการเฝ้าระวัง รวมถึงการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ จึงเป็นที่มาของ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยพิเศษ”thaมหาวิทยาลัยมหิดลยาเคมีบำบัดhypersensitivityภาวะภูมิไวเกินโรคมะเร็งโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยพิเศษProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล