ภัทรากาญจน์ วิถาทานังPattarakan Withatanangจงจิต เสน่หาChongjit Sanehaวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุลWanpen Pinyopasakulยงชัย นิละนนท์Yongchai Nilanontมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาอายุรศาสตร์2019-06-282019-06-282562-06-282561วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 36, ฉบับที่ 1 (ม.ค - มี.ค 2561), 44-56https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44192วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอํานาจการทํานายของความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ และวิธีการเผชิญความเครียดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดครั้งแรกรูปแบบการวิจัย:การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดครั้งแรก จํานวน 130 ราย ณโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบบสอบถามที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจํานวน 6 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ วิธีการเผชิญความเครียด และภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.2 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 62.04 ปี (SD = 13.01) พบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 10.8 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพและวิธีการเผชิญความเครียดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 42.3 (Nagelkerke R2 = .423) โดยพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (OR = .786, 95%CI = .671 - .920, p < .05) เป็นตัวแปรเดียวที่สามารถทํานายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดครั้งแรกได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ:ภาวะซึมเศร้าสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดครั้งแรก โดยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยทํานาย พยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความสําคัญในการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดครั้งแรก และควรพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้กับผู้ป่วยPurpose: The aim of this study was to examine the influence of self-esteem, family relationships, cognitive appraisal of health, coping strategies on depression in patients with first ischemic stroke. Design: Predictive correlational study. Methods: The sample consisted of 130 patients with first ischemic stroke at a tertiary hospital in Bangkok. The six questionnaires were used in this study consisting of the demographic data questionnaire, the Rosenberg’s Self-Esteem Scale, the Family Relationships Questionnaire, the Cognitive Appraisal of Health Scale, the Jalowiec Coping Scale and the Center of Epidemiologic Studies Depression Scale. Data were analyzed by using descriptive and logistic regression statistics. Main findings: The results showed that most of the participants were male (69.2%) and an average age was 62.04 years (SD = 13.01). Depression was found in 10.8% of the patients. Self-esteem, family relationships, cognitive appraisal of health and coping strategies were able to jointly explain variance of depression by 42.3 percent (Nagelkerke R2 = .423). Only self-esteem (OR = .786, 95%CI = .671 - .920, p < .05) was a predictor of depression in patients with first ischemic stroke with statistical significance. Conclusion and recommendations: Depression could be found among patients with first ischemic stroke; and self-esteem was an important predictor. Nurses and healthcare teams should emphasize on assessing depression in patients with first ischemic stroke. Furthermore, a program to prevent depression in ischemic stroke patients by promoting their self-esteem should be developed.thaมหาวิทยาลัยมหิดลพฤติกรรมเผชิญความเครียดภาวะซึมเศร้าสัมพันธภาพครอบครัวโรคหลอดเลือดสมองความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองcoping behaviordepressionfamily relationsstrokeself esteemJournal of Nursing Scienceวารสารพยาบาลศาสตร์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดครั้งแรกFactors Influencing Depression in Patients with First Ischemic StrokeArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล