โชคชัย สุทธาเวศสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญศิริรัตน์ ชุณหคล้ายกรกฏ โอภาสเจริญมงคล2024-01-232024-01-23255625672556วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93495รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)การวิจัยเรื่อง การบริหารและการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหารจากยุคก่อตั้งสู่อนาคตมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหารในด้านหลักการที่สำคัญต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน (2) เพื่อศึกษาการบริหารวัดโสธรวรารามวรวิหารจากอดีตถึงปัจจุบัน (3) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาและการบริหารวัดโสธรวรารามวรวิหาร (4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารและการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหาร (5) เพื่อศึกษาแนวโน้มการบริหารและการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหารในอนาคต กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยการบริหารและการพัฒนาของผู้นำวัดคือหลักการบริหาร 7 ประการ (POSDCORB ของ Luther Gulick, 1937) และศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลให้เกิดตัวแปรในด้านการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหารทั้ง 3 ด้านคือ 1.ด้านการสร้างถาวรวัตถุและวัตถุมงคล 2.ด้านศาสนศึกษา 3.ด้านการเผย แผ่ศาสนธรรมโดยศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนที่ 1 วิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากเอกสารและโดยการสัมภาษณ์พระเถระผู้มีพรรษา 20 ขึ้นไปและพระภิกษุมัชฌิมาผู้มีพรรษา 20 ลงมารวมทั้งหมดจำนวน 12 รูป ผลการวิจัยที่ได้คือ (1) การพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหารในด้านหลักการที่สำคัญต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่าการพัฒนาบุคลากรภายในวัดมีการฝึกอบรมบ่มนิสัยให้มีจิตใจเข้มแข็งมีความอดทนโดยใช้หลักการทางธรรมมีพรหมวิหาร 4 และสัปปุริส ธรรม 7 ส่วนทางโลกเป็นแบบประชาพิจารณ์แบบมีส่วนร่วม (2) การบริหารวัดโสธรวรารามวรวิหารจากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่าผู้บริหารได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับบุคลากรทั้งพระภิกษุ สามเณรและฆราวาสมุ่งเน้นการบริหารในด้านการศึกษาให้ความรู้และให้สิ่งตอบแทนแก่บุคลากร (3) ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาและการบริหารวัดโสธรวรารามวรวิหาร พบว่าความเชื่อความศรัทธาในองค์หลวงพ่อพระพุทธโสธรร่วมบริจาคทำบุญและบุคลากรพุทธบริษัท 4 รวมทั้งงบประมาณจากทางราชการ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารและการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหาร พบว่าผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไปจากผู้ร่วมบริหาร (บรรพชิตและฆราวาส) ทำให้เกิดการแตกแยกภายในองค์การวัด (5) แนวโน้มการบริหารและการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหารในอนาคตพบว่าทางวัดโสธรฯ จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัดโสธรฯ สำหรับด้านการบริหารงานภายในวัดโสธรฯ ที่ได้นำเอาหลักทฤษฎีของ Luther Gulick,POSDCORB มาปรับใช้ภายในวัดโสธรฯ นั้นข้อสรุปในการบริหารงานของเจ้าอาวาสแต่ละยุคที่ได้ปฏิบัติและได้เน้นหนักแต่ละหลักแตกต่างกันไป คือเจ้าอาวาสรูปที่ 1-2 ได้เน้นหนักด้านการวางแผน รูปที่ 3 เน้นหนักด้านการจัดการที่เกี่ยวกับบุคคล รูปที่ 4-5 เน้นหนักด้านการวางแผน รูปที่ 6 เน้นหนักด้านการจัดการที่เกี่ยวกับบุคคลและด้านการสั่งการหรือการอำนวยการ รูปที่ 7 เน้นหนักด้านการวางแผน รูปที่ 8 เน้นหนักด้านการวางแผน, ด้านการจัดการที่เกี่ยวกับบุคคล และด้านการงบประมาณ รูปที่ 9 เน้นหนักด้านการจัดองค์การ รูปที่ 10 เน้นหนักด้านการวางแผนและด้านการงบประมาณ รูปที่ 11 เน้นหนักด้านการวางแผน, ด้านการจัดการที่เกี่ยวกับบุคคลและด้านการงบประมาณ รูปที่ 12-13 เน้นหนักด้านการงบประมาณ ส่วนที่ 2 ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณสำรวจกลุ่มประชากรทั้งหมด 150 รูป/คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าพิสัย (range) ในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยจากข้อมูลพระภิกษุ สามเณรการบริหารงานภายในวัดทั้ง 7 มิติ POSDCORB พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.58 ข้อมูลอุบาสก อุบาสิกาการทำบุญและปฏิบัติธรรมพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.81 ข้อมูลพุทธศาสนิกชนทั่วไปการทำบุญและปฏิบัติธรรมพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.98ก-ฏ, 341 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าวัด -- การบริหารวัดโสธรวรารามวรวิหารการบริหารและการพัฒนาวัดโสธรวรารามวรวิหาร : จากยุคก่อตั้งสู่อนาคตManagement and development of Sothonwararamworawihan temple : from the origin to the futureMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล