วิชชุดา เจริญกิจการดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศฉัตรกนก ทุมวิภาตปัณฑิตา เพ็ญพิมล2024-01-222024-01-22255825672558วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93378การพยาบาลผู้ใหญ่ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความสม่ำเสมอในการ รับประทานยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยใช้รูปแบบเชิงเหตุผลในการรับประทานยาระบบหลอดเลือดและหัวใจไม่สม่ำเสมอซึ่งพัฒนาโดย Kronish & Ye เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบสะดวก จำนวน 120 ราย เครื่องมือในการวิจัยมีจำนวน 5 ชุดคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกจำนวนเม็ดยาตามแผนการรักษาที่ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันรับประทานต่อวัน 3) แบบสอบถามความเชื่อในการรับประทานยา 4) แบบสอบถามการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และ5) แบบสอบถามความสม่ำเสมอในการรับประทานยาโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 60.93 ปี (S.D. = 10.29) เป็นเพศชายร้อยละ 65.8 มีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาร้อยละ 60 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีการรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยาโดยรวมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 77.5 มีความกังวลจากการรับประทานยาโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 58.34 การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์โดยรวมอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 77.5 ความซับซ้อนของการใช้ยาตามแผนการรักษาพบว่า จำนวนเม็ดยาตามแผนการรักษาที่กลุ่มตัวอย่างได้รับมีจำนวน 3-42 เม็ดต่อวัน ค่าเฉลี่ย 9.27 เม็ดต่อวัน ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถทำนายความผันแปรของความสม่ำเสมอในการรับประทานยาได้ร้อยละ 17.7 (Nagelkerke R2 = .177, p < .05) มีเพียง 1 ปัจจัย ที่สามารถทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาได้ คือ การรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยา (OR = 1.242, 95%CI = 1.084-1.422; p = .002) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ควรส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยการให้ข้อมูลเรื่องความจำเป็นต่อการรับประทานยาโรคหลอดเลือดหัวใจThis correlational predictive design research aimed to study factors predicting medication adherence in patients with Acute Coronary Syndrome (ACS) after hospitalization using Reason for non-adherence to cardiovascular medication model by Kronish & Ye as a conceptual framework. A sample of 120 patients was selected by convenience sampling and 5 questionnaires were used in the study: 1) demographics 2) record note for number of medication by treatment per day 3) Belief about Medicines Questionnaire 4) Patient-Healthcare provider communication Questionnaire and5) Medication Adherence Reporting Scale Questionnaire. The data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression analysis. The findings showed that 65.8% of the sample were males with a mean age of 60.93 years old (S.D. = 10.29), having overall medication adherence 60%. Belief on perceived medication necessity was at a high level (77.5%), belief on medication concern, at low level (58.34%), patient-healthcare provider communication at a very good level (77.5%), The complexity of medical regimens (number of medication by treatment per day) of 3-42 tablets per day had a mean of 9.27. Furthermore, the four variables above could be explained by medication adherence using logistic regression which accounted for 17.7% of the variance (Nagelkerke R2 = .177, p < 0 .05). When considering each variable, the findings showed that belief on perceived medication necessity could significantly predict medication adherence (OR = 1.242, 95%CI = 1.084-1.422 p = .002) With these findings, it is recommended that nurses and healthcare providers should promote a medication adherence program and provide details and explanations on the necessity and benefits of ACS medications.ก-ญ, 173 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการรับรู้ความวิตกกังวลบุคลากรทางการแพทย์ยา -- การใช้และขนาดหัวใจขาดเลือดอิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการรับประทานยา ความกังวลจากการรับประทานยา การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ความซับซ้อนของการใช้ยาตามแผนการรักษาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลThe influence of perceived medication necessity, medication concern, patient-healthcare provider communication, and complexity of medical regimens on medication adherence in patients with acute coronary syndrome after hospitalizationMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล