ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุลเสรี วรพงษ์กชกร เพิงระนัย2024-07-092024-07-09256225622567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99571อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการในการตกเป็นเหยื่อของเด็กและเยาวชนในคดีการถูกละเมิดทางเพศทางอินเตอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาแนวทางและมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดต่อเด็กและเยาวชนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการคณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ตและนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์จากองค์กรไม่แสวงหากำไร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 33 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ จากการศึกษาพบว่า 1) การตกเป็นเหยื่อเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ ประเภทของเหยื่อ การเข้าถึงเหยื่อ และโอกาสในการตกเป็นเหยื่อ 2) แผนประทุษกรรมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของอาชญากร คือ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเงิน และเพื่อสนองความต้องการทางเพศซึ่งส่งผลต่อวิธีการทำให้ตกเป็นเหยื่อ คือ เข้าหาเหยื่อโดยตรง หรือเข้าหาเหยื่อทางอ้อม โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต 3) หลังจากการตกเป็นเหยื่อ ผู้เสียหายได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจ แนวทางในการป้องกันอาชญากรรมคือการให้ความรู้ และการตระหนักรู้ มาตรการปราบปรามผู้กระทำผิดต่อเด็กและเยาวชนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ การดำเนินการผ่านกระบวนการยุติธรรม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ การบรรจุหลักสูตรความฉลาดทางด้านดิจิตัลเข้าไปในหลักสูตรการเรียนของนักเรียน ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ คือ แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)The objectives of this research were: 1) to study the process of child sexual exploitation via the Internet 2) to study ways and measures to prevent and suppress child sexual exploitation via the Internet. The sample included internet crime against children task force and social workers who are currently working with NGOs. Purposive sampling technique of 25 relevant interviewees was used in this qualitative research. The results showed that: 1) victims of child sexual exploitation resulted from many factors including type of victims, access to victims, and opportunity to become a victim; 2) modus operandi depends on the purpose of criminals; financial purpose and sexual purpose related to the methods to approach the victims (direct or indirect via the internet). 3) After being victimized, victims experienced psychological problems and require psychological remedies. It is suggested that guidelines for crime prevention by raising the awareness must be implemented. Measure of prevention and suppression must go through criminal justice system. Also, the policy about digital intelligence should be integrated into the student's curriculum. Finally, collaboration from all sectors involved is much needed.ก-ซ, 110 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการทารุณทางเพศต่อเด็ก -- การป้องกันสื่อลามกอินเทอร์เน็ตกับเด็กกระบวนการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก : กรณีศึกษาสื่อลามกเด็กProcess of child sexual exploitation : a case study of child pornographyMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล