นุชฎา นุชนนท์พูลสุข หิรัญสายมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี2021-09-222021-09-222564-09-222561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63633ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 247ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์พบว่าผู้ป่วยมีโรคเรื้อรังและปัญหาซับซ้อนมากขึ้น การดูแลที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจนำไปสู่การเกิดแผลกดทับซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหว สถิติปี พ.ศ. 2556 พบอัตราการเกิดแผลกดทับใหม่ของหอผู้ป่วยในเท่ากับ 1.0 /1000 วันนอน (เป้าหมาย <0.5) หอผู้ป่วยวิกฤตเท่ากับ 6.1/1000 วันนอน (เป้าหมาย <1.2) สถิติการเกิดแผลกดทับใหม่สูงเกินเป้าหมายที่กำหนดและมีแนวโน้มสูงขึ้น ฝ่ายการพยาบาลฯ มีพยาบาลอายุงาน 1-5 ปี มากกว่าร้อยละ 80 มีประสบการณ์ด้านการป้องกันและดูแลแผลกดทับน้อย ดังนั้นจึงได้จัดทำ โครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาทีมผู้ให้การพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังดำเนินโครงการพบว่าอัตราการเกิดแผลกดทับใหม่ของหอผู้ป่วยในและหอผู้ป่วยวิกฤตเท่ากับ 0.4 และ 0.6 / 1000 วันนอน ซึ่งลดลงจนต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดthaมหาวิทยาลัยมหิดลแผลกดทับผู้ป่วยสูงอายุหอผู้ป่วยวิกฤตหอผู้ป่วยในโครงการพัฒนาศักยภาพพยาบาลเพื่อป้องกันและดูแลแผลกดทับของผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์Proceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล