นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญชัชวาลย์ ศิลปกิจวุฒิกรณ์ พันธุ์ยิ่งยก2024-01-122024-01-12255925672559วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92545การบริหารโรงพยาบาล (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การวิจัยเรื่องการพัฒนางานบริการทางการพยาบาลด้วยจิตตปัญญาศึกษา โรงพยาบาลซานคามิลโล จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการบริการของพยาบาล โรงพยาบาลซานคามิลโล โดยใช้จิตตปัญญาศึกษา (สติการฟังอย่างลึกซึ้ง และสุนทรียสนทนา) เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) วัดผลก่อนและหลัง (one-group, pretest-posttest design) โดยวัด 3 ครั้ง คือ ก่อนอบรม หลังอบรม 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง คือผู้ให้บริการทางการพยาบาลผู้รับบริการ(ผู้ป่วยและญาติ) และผู้บริหาร วิเคราะห์ความแตกต่างด้วยสถิติไค-สแควร์ และ One-way ANOVA ผลการวิจัยในส่วนผู้ให้บริการพบว่าคะแนนด้านสติก่อนอบรมคือ 85.66 หลังอบรม 1 สัปดาห์ และ 1 เดือนเพิ่มเป็น 89.13 และ 91.28 ตามลำดับ คะแนนด้านการรับฟังอย่างลึกซึ้งก่อนอบรม 90.22 หลังอบรมทั้งสองครั้งเพิ่มเป็น 92.50 และ 93.18 ตามลำดับ คะแนนด้านสุนทรียสนทนาก่อนอบรม 89.02 และ หลังอบรมเพิ่มเป็น 91.81 และ 93.33 ตามลำดับ ในส่วนคะแนนความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการก่อนอบรม 78.70 และหลังการอบรมครั้งเพิ่มเป็น 95.20 และ95.00 ตามลำดับ คะแนนในส่วน ผู้บริหารพบว่ามีความพึงพอใจก่อนอบรม 62.68 และหลังอบรมเพิ่มเป็น 80.42 และ 81.00 ตามลำดับ สรุปผลของการพัฒนาการดำเนินงานบริการของพยาบาลด้วยจิตตปัญญาศึกษาส่งผลให้ผู้ให้บริการด้านการพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงในคะแนนการให้บริการที่ดีขึ้น ส่วนผู้รับบริการและผู้บริหารมีคะแนนความพึงพอใจต่อการบริการทางการพยาบาลที่สูงขึ้นThis research is about nursing service development through contemplative education: San Camillo Hospital, Ratchaburi Province. Objectives: To compare the effects of development in nursing service through Contemplative Education (mindfulness, deep listening and dialogue) at San Camillo Hospital, Ratchaburi Province. Materials and methods: Quasi-experimental research was used with one- group, pretest-posttest design with one week and one month assessments after training on mindfulness, deep-listening and dialogue. The samples were nurses (service provider), clients (service receiver), and the management team. Chi-square and One- way ANOVA were used for analysis. Results: Among nurses (service providers), the results show that 1) Mindfulness at pre-experiment was at the score of 85.66 and respectively increased to the score of 89.13 and 91.28 at post-experiment. (one week and one month assessment.) 2) Deep-listening at pre-experiment was at the score of 90.22 and respectively increased to the score of 92.50 and 93.18 respectively, post- experiment. 3) Dialogue at pre-experiment was at the score of 89.02 and increased to the level of 91.81 and 93.33 respectively at post-experiment (highest average in all categories and periods). Among clients (service receivers), satisfaction of service at pre-experiment was at the score of 78.70 and increased to the level of 95.20 and 95.00, post-experiment. Among management team, the perception at pre-experiment was at the score of 62.68 and also increased to the score of 80.42 and 81.00 respectively, post-experiment. Conclusion: Both post-experiment assessments of Nursing Service Development at San Camillo Hospital through mindfulness, deep-listening and dialogue showed a remarkable improvement in comparison to the pre-experiment assessment. Clients (service receivers) and the management team had satisfaction to nursing service.ก-ญ, 182 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโรงพยาบาล -- การบริหารการพยาบาล -- ไทย -- ราชบุรีจิตตปัญญาศึกษาโรคเอดส์ -- ไทย -- ราชบุรีการพัฒนางานบริการทางการพยาบาลด้วยจิตตปัญญาศึกษา โรงพยาบาลซานคามิลโล จังหวัดราชบุรีNursing service development through contemplative education : San Camillo Hospital, Ratchaburi province ThailandMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล