ภูษิตา อินทรประสงค์จุฑาธิป ศีลบุตรดวงฤทัย สัมฤทธิ์2024-01-132024-01-13255825672558วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92616สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถธิบาย (Explanatory Research) โดยใช้วิธีการสำรวจแบบ ภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Survey) มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยหน่ายในงานกับการผูกใจในงาน กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 131 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามที่สามารถนำมาวิเคราะห์จำนวน 121 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.36 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติ one way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีระดับการผูกใจในงานระดับสูง ความเหนื่อยหน่ายในงานด้านการลดความเป็นบุคคลอื่นและด้านความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง ความอ่อนล้าทางอารมณ์ระดับปานกลางความเหนื่อยหน่ายในงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดความเป็นบุคคลอื่นและด้านความสำเร็จส่วนบุคคลมีความสำพันธ์เชิงลบระดับปานกลางกับการผูกใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ (r= -.489, p-value <.001, r=-.489, p-value <0.01 และ r =-.446, p-value <0.01) ตามลำดับ ความเหนื่อยหน่ายในงานสามารถอธิบายการผันแปรการผูกใจในงานได้ร้อยละ 37.5 (adjusted R2=.359, p-value <0.05) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาล น่าจะกำหนดนโยบายเผ้าระวัง สำรวจและประเมินอาการโดยแยกตามกลุ่มอายุและระยะเวลาปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สร้างแรงจูงใจในการทำงาน โดยปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม มีการนำช่องทางการสื่อสารจากระดับปฏิบัติการถึงระดับบริหาร โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนThis study is explanatory research with a cross-sectional survey. The objective of the study was to find the relationship between burnout at work and work engagement. The sample group was 131 registered nurse in an autonomous university hospital for not less than 1 year with specific sampling. The data collection instrument was 121 questionnaires used for analysis, which accounted for 92.36% by using Pearson's product moment correlation coefficient, one way ANOVA and multiple regression analysis. The results showed that a registered nurse in an autonomous university hospital, had a high level in work engagement, a moderate level in burnout on exhaustion, and high level in depersonalization and personal accomplishment. The relationship between depersonalization and personal accomplishment and work engagement of registered nurse is moderately negative (r = -.489, p-value < 0.01, r = -.489, p-value < 0.01, r = -.446, p-value < 0.01) respectively. The percentage of variation between burnout at work and work engagement was 37.5% (adjusted R2 = .359 p < 0.05). According to the results of the study, nurse administrators should determine a policy for monitoring, exploring and estimating symptoms classified by age and years of work in the hospital. They can then help them to build motivation with environmental modification to contribute to work properly, such as communication channels from the operational level to executive level by using new technologies to reduce complicated proceduresก-ญ, 114 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยความสัมพันธ์ของความเหนื่อยหน่ายในงานกับการผูกใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่งRelationships between burnout and work engagement of registered nurse in autonomous university hospitalMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล