ปาริชาด สุวรรณบุบผาวุฒินันท์ กันทะเตียนเอกพันธุ์ ปิณฑวณิชจันทรา เฮงสมบูรณ์2024-01-232024-01-23255525672555วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ศาสนาเปรียบเทียบ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93684ศาสนาเปรียบเทียบ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นการวิจัยภาคเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนะและแนวปฏิบัติของพุทธสันติวิธี 2) ศึกษาแนวคิดเรื่อง "อารยะขัดขืน" ของชุมชนสันติอโศก และ 3) เพื่อศึกษา เปรียบเทียบแนวคิดและหลักการปฏิบัติของพุทธสันติวิธีและสันติวิธีตามแนวทางของชุมชนสันติอโศก ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง พบว่า พุทธสันติวิธี เป็นวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงใช้แก้ไขความขัดแย้ง โดยอาศัยหลักธรรมเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งไม่ได้มีนัยเพื่อแก้ไขความขัดแย้งเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่ผู้ปฏิบัติและคู่กรณีให้เกิดสันติอย่างแท้จริง และยั่งยืน แนวทางปฏิบัติตามหลักพุทธสันติวิธีสามารถสรุปได้เป็น 2 ประการ พุทธสันติวิธีภายใน คือ หลักคำสอนที่ช่วยสร้างความสงบภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติ โดยใช้อริยสัจ 4 เป็นแนวทางปฏิบัติ และ สันติวิธีภายนอก คือ กระบวนการในการจัดการกับความขัดแย้ง, การเรียกร้อง ตลอดจนการดำเนินชีวิต ได้แก่ อธิกรณสมถะ, การเจรจาไกล่เกลี่ย, การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง และการคว่ำบาตร เป็นต้น ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สอง พบว่า แนวคิดอารยะขัดขืนตามแบบของชุมชนสันติอโศกนั้นอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับหลักคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยแนวทางปฏิบัติอารยะขัดขืนนั้น แบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ได้แก่ หลักคำสอนเรื่องศีล เป็นการฝึกฝนจิตใจให้มีเมตตาและมีความอดทนต่อกิเลส และระดับสังคม แนวทางการปฏิบัติที่ปราศจากความรุนแรง สันติ สงบ ได้แก่ หลักอปริหานิยธรรม 7 ซึ่งเป็นธรรมะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่รู้จักเสื่อม เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความสามัคคี เป็นต้น ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สาม พบว่า แนวคิดอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศก มีความสอดคล้องและเป็นแนวทางหนึ่งของพุทธสันติวิธี ในฐานะเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต แต่ยังไม่ใช่แนวทางของพุทธสันติวิธีที่สมบูรณ์ เนื่องจากกระบวนการเรียกร้องและเป้าหมายของชุมชนสันติอโศกนั้น แตกต่างจากพุทธสันติวิธีที่มุ่งเรียกร้องโดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และมีเป้าหมายเพื่อการปกป้องสถาบันศาสนา และเพื่อความสงบของสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง แต่ อย่างไรก็ตามแนวทางอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศกถือได้ว่าเป็นแนวทางหนึ่งของสันติวิธีได้เช่นกัน เพราะเป็นแนวทางในการเรียกร้องโดยปราศจากความรุนแรง การวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า สังคมไทยในปัจจุบันควรมีการประยุกต์ใช้แนวคิดพุทธสันติวิธีแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแนวทางของพุทธสันติวิธีจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชน เกิดการเรียนรู้ มีสติปัญญาในการดำรงชีวิต มีส่วนร่วม เคารพกติกา ยอมรับความเห็นต่าง เป็นผลทำให้รากฐานทางสังคมและ รากฐานทางจิตใจของคนในสังคม เติบโตไปพร้อมกันกับสังคม ศาสนา และการเมืองก-ฎ, 201 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าสันติภาพสันติภาพ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนาการดื้อแพ่งของพลเมือง -- ไทยการศึกษาเปรียบเทียบทัศนะและหลักปฏิบัติเรื่องพุทธสันติวิธีกับอารยะขัดขืนของชุมชนสันติอโศกA comparative study of the views and practice of buddhist peaceful means and Santi Asoke community's civil disobedienceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล