Kampanad BhaktikulSura PattanakiatPrapaporn Pacheerat2024-02-072024-02-07201420142014Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2014https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/95170Technology of Environmental Management (Mahidol University 2014)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความ ลาดชัน ทิศทางลาด และลักษณะเนื้อดิน ที่มีผลต่อการแพร่กระจายความชื้นในดิน และปริมาณ ลักษณะการกระจายความชื้นจากฝายชะลอน้ำ บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี สำรวจและเก็บข้อมูลใน 2 ฤดูกาล คือฤดูร้อนเดือนเมษายน-พฤษภาคม และฤดูฝนเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ปี 2554 ที่ระดับความลึก 5-15 และ 15-30 เซนติเมตร ตำแหน่งที่มีฝายชะลอน้ำและไม่มีฝายชะลอน้ำ วัดค่าความชื้นในดินด้วยวิธีวัดโดยน้ำหนัก (Gravimetric Method) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติกับลักษณะทางกายภาพ พร้อมทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์การแพร่กระจายความชื้นในดิน ผลการศึกษา พบว่าฤดูร้อนมีค่าความชื้นอยู่ระหว่าง 0.32-11.26 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และ 0.15-10.55 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตามระดับความลึก ช่วงฤดูฝน ค่าความชื้นอยู่ระหว่าง 2.16-23.82 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และ 1.31-14.09 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตามระดับความลึก ลักษณะทางกายภาพ พบว่าทิศทางลาด มีผลต่อความชื้นในดินฤดูร้อน ระดับความสูงจากระดับทะเลปานกลาง มีผลต่อความชื้นในดินฤดูฝน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการประมาณค่าเชิงพื้นที่แบบ Thiessen Polygon และ Co-Kriging พบว่าฤดูร้อนความชื้นในดินแพร่กระจายมากที่สุดทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงฤดู ความชื้นในดินแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ภูเขาและมีฝายชะลอน้ำ ค่าความชื้นในดินเพิ่มขึ้นจากฤดูร้อน เช่นเดียวกับค่าความแตกต่างพืชพรรณ (NDVI) ของข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 5 TM ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม ปี 2554 พบว่าในเดือนสิงหาคมพื้นที่มีความหนาแน่นพืชพรรณมากกว่าในเดือนเมษายนThis study aims to examine physical characteristics, including altitude, slope, geographical aspects and soil texture that affect the distribution, amount, and the pattern of soil moisture from check dams at Huay Sai Royal Development Study Center, Phetchaburi Province. The survey and data collection were conducted in two seasons, namely Summer (April-May) and the rainy season, June-July 2011 at the depths of 5-15 centimeters and 15-30 centimeters of locations with and without a check dam. Soil moisture was measured using the gravimetric method. Statistical correlations and physical characteristics were analyzed. Geo-information technology was applied for soil moisture distribution analysis. The results showed that moisture values in summer were 0.32-11.26 percent by weight and 0.15-10.55 percent by weight according to the depth. In the rainy season, moisture values were 2.16-23.82 percent by weight and 1.31-14.09 percent by weight according to the depth. About physical characteristics, it was found that the geographical aspects had an impact on soil moisture in summer. Altitude had an impact on soil moisture in the rainy season at significance level of 0.05. For area estimation using Thiessen Polygon and Co-Kriging methods, it was found that soil moisture was mostly distributed in the north and the northeast of the study center in summer. In the rainy season, soil moisture was widely distributed. Particularly in mountain areas with check dams, soil moisture values increased during summer. Corresponding to vegetation diversity value (NDVI) obtained from a satellite photograph taken by Landsat-5 TM during April-August 2011, the area showed higher vegetation density in August compared to April.xii, 1291 leaves : ill. (some col.)application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าSoil moisture -- Thailand -- PhetchaburiGeographic information systemsSoil moisture distribution from check dams using geo-information technology at Huay Sai Royal Development Study Center, Thailandการแพร่กระจายความชื้นในดินจากฝายชะลอน้ำโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประเทศไทยMaster ThesisMahidol University