เกวลิน นุ่นทองอาภรณ์ ครองกิจการระพีพร ใหญ่เจริญพรรณพัชร กองชัยKewalin Nunthongมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคนิคการแพทย์2021-05-282021-05-282564-05-282561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62326ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 63ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ สาขาเทคนิคการแพทย์ เป็นตัวชี้วัดสำคัญของการผลิตบัณฑิต ในรอบปีการศึกษา 2554-2558 ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ มีแนวโน้มไม่ชัดเจนและบางช่วงมีผลลัพธ์ต่ำกว่าเป้าหมาย (ร้อยละ 90) ทางคณะเทคนิคการแพทย์ ได้มีการพัฒนากระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบใบประกอบวิชาชีพ โดยจัดให้มีการสอบ Pre-Test, Post-Test และ Competency Test ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 และหาความสัมพันธ์จากผลสอบดังกล่าวกับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพโดยใช้หลักสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ปีการศึกษา 2558 คะแนนสอบ Pre-Test และ Post-Test ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ แต่ปีการศึกษา 2559-2560 คะแนนสอบ Pre-Test, Post-Test และ Competency Test มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพในระดับต่ำ-ปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ซึ่งจะนำสู่การทดสอบโดยวิธีการถดถอยพหุคูณ เพื่อหาตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพ นำไปสู่ Model ที่ใช้ในการพยากรณ์ผลการสอบใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาในอนาคต เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่บรรลุเป้าหมายขององค์กรthaมหาวิทยาลัยมหิดลPre TestPost TestCompetency Testผลการสอบใบประกอบวิชาชีพความสัมพันธ์พยากรณ์Mahidol Quality FairModel ข้อสอบพยากรณ์อนาคตProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล