วิริณธิ์ กิตติพิชัยณัฐนารี เอมยงค์อนงค์นาฏ ผ่านสถินWirin KittipichaiNatnaree AimyongAnongnat Pansathinมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คณะสาธารณสุขศาสตร์2022-10-202022-10-202565-10-202565วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 483-4942697-6285 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79936การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครัวเรือนผู้สูงอายุที่มีต่อการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุของอดีตผู้ต้องขังหญิง รวบรวมข้อมูลโดยการการสัมภาษณ์ผ่านผู้บริหารขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวน 27 แห่ง และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือนผู้สูงอายุจำนวน 540 ตัวอย่าง ใน 5 พื้นที่ที่มีทัณฑสถานหญิงตั้งอยู่ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา สงขลา และกรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการสรุปสาระสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 17 ตัวอย่าง และตัวแทนครัวเรือนผู้สูงอายุร้อยละ 74 แสด.งความคิดเห็นสอดคล้องกันในการส่งเสริมอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้แก่อดีตผู้ต้องขังหญิง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาอดีตผู้ต้องขังหญิงทำงานการดูแลผู้สูงอายุคือ มีใบรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ มีประสบการณ์การทำงาน และประวัติคดีที่ถูกต้องโทษในเรือนจำ ในขณะที่ตัวแทนครัวเรือนผู้สูงอายุเห็นว่าอดีตผู้ต้องขังหญิงต้องไม่มีการกระทำผิดในคดีร้ายแรงหรือเป็นคดีที่ผลต่อชีวิตของบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้บริการในสถานดูแลผู้สูงอายุหรือการจ้างมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จึงมีข้อเสนอแนะให้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One-Stop Service) เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมอาชีพการดูแลผู้สูงอายุให้แก่อดีตผู้ต้องขังหญิง โดยดำเนินการคัดกรองคุณสมบัติของอดีตผู้ต้องขังหญิง ประสานจัดการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ รวบรวมบัญชีผู้ผ่านการอบรม ประชาสัมพันธ์ และประสานกับหน่วยงานที่ต้องการจ้างงาน เพื่อให้อดีตผู้ต้องขังหญิงได้รับการจ้างงาน มีอาชีพ มีรายได้ต่อการครองชีพที่ยั่งยืนต่อไปThis descriptive study aims to explore the perspective of local administrative organizations, and elderly households towards former female inmates with elderly caregiver occupation. Data were collected by interviewing executives of 27 local administrative organizations and representatives of 540 elderly households in 5 areas where the women correctional institutions were located, namely, Chiang Mai, Chon Buri, Nakhon Ratchasima, Songkhla, and Bangkok.Descriptive statistics and theme-based content analysis were applied for data analysis The findings indicated that 17 local administrative organizations and 74 percent of household subjects, were in support for former female inmates taking up a job as caregiver for the elderly. In addition, representatives of local administrative organizations specified that it is necessary to have a certificate of elderly caregiver training course, work experience, and history of imprisonment. Meanwhile, representatives of elderly households said that those who were jailed for serious crime, should not be permitted to work as elderly caregivers. This is an important and necessary consideration. Therefore, the One-Stop Service should be setup to coordinate between various divisions, involving in helping former female inmates to become elderly caregivers, such as screening qualifications of former female inmates, organizing the training course, gathering a list of those who passed the training course, organizing public relations, and coordinating with the agencies wishing to employ former female inmates.thaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ดูแลผู้สูงอายุสถานบริบาลผู้สูงอายุผู้ต้องขังอดีตผู้ต้องขังelderly caregivernursing homeprisonerformer inmateการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุของอดีตผู้ต้องขังหญิง: มุมมองของครัวเรือนผู้สูงอายุและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นFormer Female Inmates as Elderly Caregiver: Perspective of Local Government Organizations and Elderly HouseholdsOriginal Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์