หัทยา ดำรงค์ผลวิมลทิพย์ มุสิกพันธ์กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนากรพินธุ์ ดวงทองพล2024-01-122024-01-12256025672560วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (พัฒนาการมนุษย์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92529พัฒนาการมนุษย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของแบบฝึกหัดการรับรู้ทางสายตา เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียนและการรับรู้ทางสายตา ในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชาย 5 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้้เชี่ยวชาญว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียน ด้านการอ่านและการเขียน อายุระหว่าง 7 ปี 8 เดือนถึง 10 ปี โดยการให้แบบฝึกหัดการรับรู้ทางสายตาในการศึกษาครั้งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือน ทั้งหมด 32 แบบฝึกหัด ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถด้านการอ่าน จากการวัดโดยใช้แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Wide Range Achievement Test, WRAT-Thai) เด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องทางการเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีความสามารถด้านการอ่านเพิ่มขี้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังจากทำแบบฝึกหัดการรับรู้ทางสายตา นอกจากนี้ความสามารถด้านการรับรู้ทางสายตา ซึ่งวัดโดยแบบประเมินการรับรู้ทางสายตา (Developmental Test of Visual Perception Second Edition, DTVP-2) พบว่าความสามารถ ด้าน Visual-Motor Integration มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เด็กมีการอ่านที่ดีขึ้นหลงัจากได้รับการทำแบบฝึกหัดการรับรู้ทางสายตา ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียน สามารถนำแบบฝึกหัดนี้ไปใช้ได้ภายใต้การให้คำแนะนำของนักกิจกรรมบำบัดThis study examined the effect of visual perception worksheets in 5 boys diagnosed with learning disorders (LD). All the children were practiced with 32 visual perception worksheets for 2 months by their parents. After 2 months, they were evaluated the reading and writing performance by using the Wide Range Achievement Test, WRAT-Thai. The Developmental Test of Visual Perception Second Edition, DTVP-2 was used to measure visual perception abilities. The results of this study revealed that reading performance in children with learning disorders (LD) significantly increased (p-value < 0.05) but there was no change in writing performance. There was a significant increase in visual motor integration ability (p value < 0.05). This study showed that children with learning disorders were better at reading after they had been doing visual perception worksheets. This research suggests that parents whose children with learning disorders may use the visual perception worksheets to improve the reading and writing skill. However, parents may use this worksheets upon the suggestion of an occupational therapist.ก-ฏ, 183 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภาพapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าความบกพร่องทางการเรียนรู้การรับรู้ทางสายตาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลของแบบฝึกหัดการรับรู้ทางสายตาต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียน : กรณีศึกษาในเด็กชาย 5 คนEffect of visual perception worksheets on reading and writing skills in children with learning disorders : a series of 5 boysMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล