นาถฤดี เด่นดวงสุพจน์ เด่นดวงมัลลิกา มัติโกวิลาวัณย์ ชาดา2024-01-232024-01-23255625672556วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93558สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การฆ่าสามี/คู่ครองของผู้หญิง และความสัมพันธ์กับ ระบบชายเป็นใหญ่ ในแนวคิดสตรีนิยม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ในกลุ่มผู้ต้องขังหญิงที่ กระทำ ผิดคดีฆ่าสามี/คู่ครอง ในทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร จำนวน 9 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงมีแบบแผนของการฆ่าสามี/คู่ครอง 2 ลักษณะ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้หญิงยอมรับว่าตนเองฆ่าสามี และกลุ่มที่ 2 ผู้หญิงปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้ฆ่าสามี แต่ถูกกล่าวหาว่าฆ่า ผู้หญิงกลุ่มแรกให้เหตุผลว่า ตัดสินใจฆ่าสามี เพราะถูกสามีกระทำ ถูกกดขี่มาก่อน สะสมเป็นเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งถูกกระทำซ้ำ อีกครั้ง เจ็บปวดจนทนไม่ ไหวอีกต่อไป จึงตัดสินใจฆ่าสามีเพื่อยุติปัญหา ส่วนผู้หญิงกลุ่มที่สองก็เคยมีประสบการณ์การถูกสามีกระทำ และถูก กดขี่มาก่อนเช่นเดียวกัน แต่ไม่เคยมีความคิดหรือมีเจตนาจะฆ่าสามี แต่จากบริบทแวดล้อมและความสัมพันธ์กับสามี จึงทำให้ถูกตัดสินว่าผู้หญิงฆ่าสามี แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงทุกคนเคยมีประสบการณ์การถูกสามีกระทำ ทำร้าย เอา เปรียบ และถูกกดขี่มาก่อน ทั้ง การถูกทำ ร้ายร่างกาย การถูกด่าว่า การถูกดูหมิ่น การถูกทอดทิ้ง การถูกข่มขู่เรียกร้อง เงินทอง การไม่ได้รับการช่วยเหลือรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ การถูก ควบคุม ทรัพย์สิน การถูกนอกใจไปมีผู้หญิงคนอื่น การถูกพยายามจะฆ่าและถูกข่มขู่ว่าจะฆ่า เมื่อผู้หญิงตกเป็นเหยื่อการ กระทำ ของสามี ผู้หญิงพยายามจะหาวิธีการจัดการกับปัญหา โดยได้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นหลากหลายวิธี ทั้งการ อดทนนิ่งเฉย การต่อสู้ตอบโต้ การเจรจาด้วยเหตุผล การแยกไปอยู่ที่อื่น การแยกทางและหย่าร้าง ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ก็ไม่ได้ทำ ให้ปัญหายุติลงได้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระบบชายเป็นใหญ่เข้าไปมีอิทธิพลต่อประสบการณ์การของผู้หญิง ทั้ง ประสบการณ์ชีวิตทุกโครงสร้าง ทำให้ผู้หญิงต้องถูกสามีกระทำ และกดขี่มาโดยตลอด การควบคุมความคิดและตัวตน ของผู้หญิง ตลอดจนควบคุมการตัดสินใจฆ่าสามี ซึ่งไม่ได้เป็นการตัดสินใจจากอำนาจและตัวตนของผู้หญิงอย่าง แท้จริง แต่เป็นการตัดสินใจต้องทำ เพราะหมดสิ้นหนทาง ไม่มีทางเลือกอื่น ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ ขจัดการกดขี่ เอาเปรียบผู้หญิงของระบบชายเป็นใหญ่ โดยการขจัด อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่และสร้างอุดมการณ์ใหม่ เพื่อลดการกดขี่ และการแบ่งแยกทางเพศ และภาครัฐก็ควร สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือและให้อำนาจในการตัดสินใจแก่ผู้หญิงที่ประสบปัญหาตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทำThe objective of the study was to study the experiences of women who kill their intimate partner and the relation between patriarchy and the experiences of women who kill their intimate partner. The study uses feminist perspective and qualitative methodology. Case studies were done by in-depth interviews and data was collected from 9 female prisoners in the Women Correctional Institution, Bangkok. The results of the study are summarized below. Killing experiences can be divided into 2 patterns. First, women who have accepted they killed their intimate partner, and second women who have refused to accept they killed their intimate partner, but were accused. The women in the first group decided to kill their intimate partner because they were being oppressed and controlled by the partner for a long time. They were being victimized repeatedly, and had been suffering until they could not stand it. So they decided to kill their intimate partner to stop the problem. And women in the second group were being victimized by their intimate partner too, but they never thought about or intended to kill their intimate partner. Every women in the study has experienced being victimized, including violence against women, abusing, disparaging, neglecting, threatening, property controlling, being unfaithful by the intimate partner, and having the intimate partner attempt to kill them. Women who were being victimized had tried to manage the problem, which included enduring, combating, negotiating, living separately and divorce, but they still could not stop the problem. The results show that the patriarchal system has influenced every aspect of the women's lives. The patriarchal system has oppressed and controlled these women's lives, including action, ideology, and subjectivity, which also influenced the decision to kill their intimate partner. Deciding to kill their intimate partner was not derived from subjectivity, but they decide to act because of trying to stop the problem and they did not have choice and power. Recommendations from this study are to eliminate the oppression and control on women. Society should eliminate patriarchal ideology and create a new ideology to eliminate sexism. Also, the state should support and help women who are being victimized.ฌ, 266 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าสตรีที่ถูกทารุณสตรี -- ไทย -- ภาวะสังคมจริยศาสตร์สตรีนิยมการเลือกปฏิบัติต่อสตรี -- ไทยภรรยาที่ถูกทารุณประสบการณ์การฆ่าสามี/คู่ครองของผู้หญิง : แนวคิดสตรีนิยมThe experiences of women who kill their intimate partner : a feminist perspectiveMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล