สุจริตลักษณ์ ดีผดุงปัทมา พัฒน์พงษ์Sujaritlak DeepadungPattama Patpongมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท2020-06-082020-06-082563-06-082549วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 25, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2549), 18-37https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56399บทความเรื่อง “Southeast Asia Wordlist กับการทำวิจัยภาษาศาสตร์ภาคสนามภาษาดาระอาง” เป็นการรวบรวมข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ Southeast Asia Wordlist ของนักศักษาปริญญาเอกสาขาภาษาศาสตร์ ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำวิจัยทางภาษาศาสตร์เลย วัตถุประสงค์หลักของบทความนี้คือ เพื่อนำเสนอปัญหาการใช้ Southeast Asia Wordlist ของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำวิจัยภาษาศาสตร์ภาคสนาม วัตถุประสงค์รอง คือ เพื่อนำเสนอรายการคำภาษาดาระอาง หรือ Dara-ang Ren ที่บ้านนอแล ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จาการศึกษาภาษาดาระอางหรือปะหล่อง ณ หมู่บ้านนอแล ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ Southeast Asia Wordlist จำนวน 285 คำ พบว่ามีปัญหาดังต่อไปนี้ 1) คำยืมจากภาษาอื่น 2) คำพ้องความหมายและคำพ้องเสียง 3) คำเรียกรวม 4) การใช้คำเรียกสิ่งที่มีลักษณะร่วมกัน 5) คำที่ไม่มีในสังคมวัฒนธรรม 6) คำบางคำมีความหมายต่างกันในรายละเอียด 7) ความยากในการสอบถามข้อมูลใน Southeast Asia Wordlist ที่ปรากฏเดี่ยวๆ ทั้งนี้บทความนี้เป็นเพียงแค่การนำเสนอประเด็นปัญหาและข้อคิดเห็นบางประการของนักศึกษาทุกคนมีความเห็นว่า Southeast Asia Wordlist (Mahidol University Field Method-revised 1990) นี้ ยังงคงเป็นเครื่องมือที่ดีในการเริ่มต้นทำงานวิจับภาษาศาสตร์ภาคสนามthaมหาวิทยาลัยมหิดลSoutheast Asiawordlistภาษาศาสตร์ภาคสนามดาระอางวารสารภาษาและวัฒนธรรมJournal of Language and CultureSoutheast Asia Wordlist กับการทำวิจัยภาษาศาสตร์ภาคสนามภาษาดาระอางResearch Articleสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล