รติ ตันติวุฒิRati Tantiwutมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์2022-09-142022-09-142565-09-142564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79526ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 107ในระยะหลังคลอดสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะ ตั้งครรภ์ ควรได้รับการนัดติดตามเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในช่วง 6 -12 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาโดยเร็ว ช่วยลด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยทำการทดสอบการทนต่อกลูโคสตามเกณฑ์ คนปกติ ด้วยวิธีการตรวจ 75 กรัม OGTT (Oral glucose tolerance test) การให้คำแนะนำเพื่อการเตรียมตัวก่อนตรวจ 75 กรัม OGTT อย่างมี ประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้ป่วยเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจได้อย่างถูกต้อง ผลการตรวจมีประสิทธิภาพไม่เกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้ได้รับการ วินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยจัดทำข้อความประกอบ คำแนะนำลงบนกระดาษสำหรับพิมพ์ใบเจาะเลือด และจัดพิมพ์ข้อความลงใน ระบบการนัดหมายผ่านโปรแกรม Electronic Medical Record เพื่อให้ขึ้น ข้อความแจ้งเตือนในบัตรนัดและ Rama application ผลการดำเนินงาน ผู้ป่วยได้รับข้อมูลการเตรียมตัวก่อนตรวจ ครบถ้วน เตรียมตัวก่อนตรวจได้ถูกต้อง ได้รับการตรวจตามขั้นตอนและ ระยะเวลาที่กำหนดก่อนพบแพทย์ ลดจำนวนข้อร้องเรียนจากผู้ป่วยและสห สาขาวิชาชีพ และลดการใช้ทรัพยากรกระดาษลงได้ถึง 50%thaมหาวิทยาลัยมหิดลโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์Oral glucose tolerance testOGTTMahidol Quality Fairการให้คำแนะนำเพื่อการเตรียมตัวก่อนตรวจ 75 กรัม OGTT อย่างมีประสิทธิภาพProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล