ปางรวี มีสิทธิ์อภิญญา เสนาธรรมธนาพร คงคาธนะขวัญมนัส จึงมั่นคงมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-022021-09-022564-09-022561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63454ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 211เนื่องจากหอผู้ป่วย ให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคศัลยศาสตร์ โดยให้การ ดูแลครอบคลุมทั้งก่อน และหลังผ่าตัด เพื่อให้ทุเลาจากโรค ปลอดภัยจาก ภาวะแทรกซ้อน บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการปวด โดยการให้ยา ระงับปวดซึ่งส่วนใหญ่เป็นยากลุ่ม Opioids ที่มีผลข้างเคียง คือ กดการหายใจ โดย onset ของยาจะอยู่ที่ 10 นาที (คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง โดย คณะกรรมการเภสัชกรรม ร.พ.ศิริราช, 2560) ดังนั้นหลังให้ยา 10 นาที พยาบาลต้องติดตามประเมินอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการกด การหายใจ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนความง่วงซึม (sedation score) อัตรา การหายใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจน แต่เนื่องด้วยภาระงานที่มาก ต้อง ให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดพร้อมกันหลายห้อง ส่งผลให้บางครั้งพยาบาลไม่ สามารถเข้าไปประเมินอาการผู้ป่วยหลังได้รับยา Opioids ในเวลา 10 นาที หอผู้ป่วยได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยหลังได้รับยาแก้ปวดในกลุ่ม opioids จึงได้จัดทำโครงการ Opioids alert ขึ้น เพื่อให้พยาบาลได้ไป ประเมินอาการผู้ป่วยหลังได้รับยาในเวลาที่เหมาะสม และผู้ป่วยปลอดภัยจาก ภาวะแทรกซ้อนthaมหาวิทยาลัยมหิดลOpioidsความปลอดภัยการประเมินภาวะแทรกซ้อนOpioids AlertProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล