Kulvadee KansuntisukmongkolSansanee ChoowaewWipawan TinnungwattanaUsa Phuengtambon2024-01-112024-01-11201720172024Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2017https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92373Technology of Environmental Management (Mahidol University 2017)This research study covered the four FAO dimensions of food security: food availability, food accessibility, food utilization, and food stability. The main objectives were to compare food security before and after bamboo revetment among fishery households and to analyze factors affecting household-level food security. The study employed a survey of 152 households, in-depth interview of community leaders, and focus-group discussion of key informants. Data were statistically analyzed by SPSS program using Paired Sample t-test, Chi-Square test, Multiple Linear Regression and Logistic Regression Analysis. The study found that food security among small scale fishery households covered all 4 FAO dimensions: food availability, food accessibility, food utilization, and food stability. No household level factors were found to statistically significantly affect food availability at 0.05 significance level. However, factors affecting food accessibility, food utilization, and food stability included gender, age and education level of household head, numbers of household members, numbers of household occupations, landholdings, settlement period, fishing experiences, income, and food expenses. Between before and after the bamboo revetment, the study found a statistically significant difference (0.05) in the amount of fishery resources acquired, right of access to fishing ground (sea, muddy beach, and mangrove), catch per unit of effort of each targeted fishery resources, catch per unit of effort of all fishery resources, and sufficiency level of seafood for household consumption. Fishery households in Bangkaew Subdistrict practiced commercial fishery rather than fishing for self-support. Bamboo revetment was found to be not directly supportive to fishing activities and food security. It does rather help support the resiliency of coastal ecosystem, prevent coastal erosion and rehabilitate mangrove area to nurture young marine livesการศึกษานี้เป็นการศึกษาความมั่นคงทางอาหารทั้ง 4 มิติของ FAO ได้แก่ มิติความพอเพียง มิติการเข้าถึง มิติการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอาหาร และมิติความต่อเนื่องในการมีทรัพยากรอาหาร เพื่อเปรียบเทียบความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือน และชุมชนก่อนและหลังที่มีการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นของครัวเรือนประมงพื้นบ้าน ตำบลบางแก้ว จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อศึกษาปัจจัยภายในของครัวเรือนที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนและชุมชน โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ครัวเรือนประมงพื้นบ้าน 152 ครัวเรือน และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำชุมชนป้องกันแนวชายฝั่ง และสนทนากลุ่มกับชาวประมงพื้นบ้าน วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สำหรับการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน, Paired Sample t-tests, Chi-Square test, Multiple Linear Regression และ Logistic Regression Analysis จากการศึกษาพบว่า ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนประมงพื้นบ้านตำบลบางแก้วครอบคลุมใน 4 มิติ ได้แก่ มิติความพอเพียง มิติการเข้าถึง มิติการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอาหาร และมิติความต่อเนื่องในการมีทรัพยากรอาหาร ไม่มีปัจจัยภายในครัวเรือนใดในงานวิจัยนี้ที่ส่งผลต่อมิติความพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.05 ปัจจัยภายในครัวเรือนที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในมิติการเข้าถึง มิติการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอาหาร และมิติความต่อเนื่องในการมีทรัพยากรอาหาร ได้แก่ เพศของหัวหน้าครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนอาชีพของครัวเรือน การถือครองที่ดินของครัวเรือน ระยะเวลาที่อยู่อาศัย ระยะเวลาที่ประกอบอาชีพประมง รายได้ของครัวเรือน และ รายจ่ายค่าอาหารของครัวเรือน ก่อนและหลังที่มีการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ปริมาณของทรัพยากรต่างๆที่หาได้ในแต่ละครั้ง สิทธิในการเข้าถึงพื้นที่ทะเล พื้นที่หาดโคลน และพื้นที่ป่าชายเลน ปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยการลงแรงประมงของทรัพยากรสัตวน้ำเป้าหมายที่ชาวประมงนิยมจับและปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยการลงแรงรวม การมีอาหารทะเลเพียงพอในการบริโภคในรอบปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.05 ครัวเรือนประมงตำบลบางแก้ว ทำประมงเพื่อการค้ามากกว่าทำประมงเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน การปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นไม่เกี่ยวข้องกับการทำประมงและความมั่นคงทางอาหารโดยตรง แต่ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำวัยอ่อนxi, 191 leaves : ill. (some col.)application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าFood security -- Thailand -- Samut SongkhramFood supply -- Social aspects -- Thailand -- Samut SongkhramSustainable developmentHousehold food security from bamboo revetments in communities in Bangkaew subdistrict, Muang district, Samut Songkhram provinceความมั่นคงทางอาหารครัวเรือนจากการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นในชุมชน ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามMaster ThesisMahidol University