เนาวรัตน์ เจริญค้านิภาพรรณ กังสกุลนิติธราดล เก่งการพานิชวิไล กุศลวิศิษฎ์กุลณัฐจาพร พิชัยณรงค์พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณพัชราพร เกิดมงคลสตีเฟ่น ฮาแมนน์Naowrut CharoencaNipapun KungskulnitiTharadol KengganpanichWilai KusolwisitkulNatchaporn PichainarongPimpan    Silpasuwan  Patcharaporn Kerdmongkol  มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาระบาดวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข2016-04-202020-10-122016-04-202020-10-122559-04-202547https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59360ศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อชีวิตคนไทยโดยส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องจาก ร้อยละ 90 ของคนไทยนับถือ ศาสนาพุทธ ในอดีตที่ผ่านมา การสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ทั่วประเทศยังได้รับความสนใจน้อยมาก เมื่อปี 2536 ได้มีการศึกษาในพระภิกษุสงค์จำนวน 678 รูปจากวัด 48 แห่งในภาคกลาง พบว่าพระภิกษุที่สูบบุหรี่มีร้อยละ 55 ซึ่งตัวเลขอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์นี้ชี้ให้เห็นว่ายังเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง แต่การศึกษาในปี 2536 นั้น จำกัดอยู่เพียงแค่ภาคเดียวของประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2544 อัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในชายไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39.3 สืบเนื่องจากข้อมูลจากการศึกษาในปี 2536 ยังมิได้เป็นตัวแทนที่แท้จริงของพระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศ และ มีการลดลงของความชุกในการสูบบุหรี่ของชายไทยซึ่งย่อมรวมถึงพระภิกษุสงฆ์ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาสำรวจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อให้ทราบถึงความชุกของการสูบบุหรี่ในหมู่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งน่าจะมีการลดลงด้วย หน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพอนามัยของพระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลสงฆ์ในกรุงเทพมหานครนั้น ตระหนักดีว่าโรคที่เกี่ยวข้องการการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการอาพาธและมาณภาพของพระภิกษุสงฆ์ แม้ว่าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดให้มีโครงการวัดปลอดบุหรี่ และโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ก็ไม่ได้มีข้อมูลเบื้องต้นของความชุกในการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อโดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) จึงได้มีการศึกษาสำรวจความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ครั้งนี้ขึ้นในการนี้นักวิจัยได้นำข้อมูลสถิติ และ การแบ่งส่วนการปกครองของสงฆ์จากมหาเถรสมาคม และกรมการศาสนา มากำหนดการสุ่มตัวอย่างให้เป็นเป็นระบบตามโครงสร้างของแต่ละภาค เพื่อให้ได้จำนวนตัวอย่างที่เพียงพอ และเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร โดยได้สำรวจพระภิกษุสงฆ์สามเณรจำนวน 6,213 รูปถึงสถานการณ์และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป้าหมายของการศึกษาเพื่อหาความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์และทราบถึงลักษณะแบบแผนการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์รวมทั้งความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ต่อการสูบบุหรี่คณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นช่วงระหว่างเวลาเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัด ข้อมูลจากการสำรวจได้มีการตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ ผลจากการสำรวจพบว่าอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ในภาพรวมของทั้งประเทศเป็นร้อยละ 24.4 โดยแตกต่างกันสำหรับแต่ละภาค คืออยู่ในช่วงร้อยละ 14.6 สำหรับภาคเหนือ ถึงร้อยละ 40.5 ในภาคตะวันออก ภาคที่มีอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ค่อนข้างสูง ได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้และ กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 40.5, 40.2, 33.5, และ 29.7 ตามลำดับ) ส่วนภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ มีอัตราความชุกเป็น 22.8, 20.4, และ 14.6 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าภาคที่มีอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ค่อนข้างสูงนั้นส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุมากกว่าสามเณร และเป็นพระที่ค่อนข้างมีอายุ แม้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะทราบและตระหนักถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในศาสนสถาน ผลที่มีต่อสุขภาพ และภาพลักษณ์ในทางลบของการสูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีพระสงค์จำนวนมากที่ยังติดบุหรี่อยู่ ซึ่งอาจเป็นความแตกต่างระหว่างลักษณะการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ในเขตเมืองกับเขตชนบท พระสงฆ์ที่สูบบุหรี่มากกว่าร้อยละ 90 รายงานว่าเริ่มสูบบุหรี่มาตั้งแต่ก่อนบวช พระสงฆ์ที่มาจากภาคที่มีความชุกของการสูบบุหรี่ค่อนข้างสูงมีระดับของการติดบุหรี่สูงกว่าภาคอื่นๆ คือต้องสูบบุหรี่มวนแรกหลังจากตื่นนอน ภายในครึ่งชาวโมง เหตุผลที่สูบบุหรี่เนื่องมาจากความเครียด และรายงานว่าการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ มากกว่าพระสงฆ์ที่มาจากภาคที่มีความชุกต่ำ ประมาณร้อยละ 60 ของพระสงฆ์ที่เคยสูบบุหรี่ เลิกสูบในระหว่างที่ยังบวชอยู่ ส่วนใหญ่เลิกมาได้เกินกว่า 5 ปี แล้ว โดยใช้ความพยายาม 1-2 ครั้งจึงเลิกได้สำเร็จ และเคยได้รับคำแนะนำจากพระรูปอื่น ญาติโยม และแพทย์/พยาบาล พระสงฆ์ส่วนใหญ่ใช้วิธีเลิกด้วยตนเอง หรือ ค่อยๆลดจำนวนบุหรี่ที่สูบลง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ อายุ สถานภาพ (พระภิกษุ/สามเณร) ระยะเวลาที่บวช และประเภทวัด (พระอารามหลวง/วัดราษฎร์) พระสงฆ์ที่ทีระดับการศึกษาทางโลกสูง มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่น้อย พระสงฆ์ส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ก่อนบวช และพระสงฆ์ที่เคยสูบบุหรี่ร้อยละ 60 เลิกสูบบุหรี่ในขณะที่ยังบวชอยู่ พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ประมาณร้อยละ 44 ของพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ให้เหตุผลว่าไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้เนื่องจากไม่ทราบวิธีและไม่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ในหนึ่งปีที่ผ่านมามีพระสงฆ์ร้อยละ 52 เคยพยายามเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงว่าในประชาชนทั่วไป ร้อยละ 72.5 ของพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ พระสงฆ์ที่สำรวจในการศึกษาครั้งร้อยละ 80 เสนอให้มีการรณรงค์ไม่ให้ญาติโยมถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์ และอีกร้อยละ 91 เสนอให้ส่งเสริมพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่อยู่ให้เลิกสูบthaการสูบบุหรี่พระภิกษุสงฆ์พระภิกษุพระสงฆ์การสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทยSmoking prevalence among monks in ThailandResearch Reportมหาวิทยาลัยมหิดล